Artmulet
ผู้รังสรรค์ผลงานประติมากรรมแห่งศรัทธา
สู่จิตวิญญาณแห่งมวลมนุษยชาติ
เพื่อมอบไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
ชมผลงานสื่อต่างๆ ที่พูดถึง Artmulet
กว่า 9 ปีที่ Artmulet ได้รังสรรค์ผลงานประติมากรรมแห่งศรัทธา ซึ่งถูกพูดถึงในสื่อต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์มากมาย
ข่าวสาร และบทความล่าสุด
โลกามหาธิบดีพรหม
วันที่ 4 ธันวาคม 2566โลกามหาธิบดีพรหม” ผลงานประติมากรรมแห่งศรัทธาอันยิ่งใหญ่ที่ถือกำเนิดเกิดขึ้นแล้วบนผืนแผ่นดินทองของคนไทย ณ สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ เป็นผลงานประติมากรรมแห่งศรัทธา ที่ยังไม่เคยปรากฎขึ้นที่ไหนมาก่อน ด้วยการนำเอาผลงาน “มหาเทพพรหมลิขิต” ซึ่งเดิมเป็นขนาดบูชาที่มีความสูง 22 นิ้ว 16 นิ้ว และ11 นิ้ว มารังสรรค์สู่ผลงานประติมากรรมขนาดใหญ่
พระแม่ลักษมี มหาเทวีนารายณี
พระแม่ลักษมี มหาเทวีนารายณี
พระแม่ลักษมี มหาเทวีนารายณี
มหาเทวีแห่งความร่ำรวย
ความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ และความรัก
พระแม่ลักษมี มหาเทวีแห่งพระนารายณ์ คือหนึ่งในสามของมหาเทวีอันยิ่งใหญ่ในลัทธิพราหมณ์-ฮินดู พระองค์ทรงเป็นพระชายาแห่งพระนารายณ์หนึ่งในสามมหาเทพผู้รักษาคุ้มครองป้องกัน ตามตำนานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเชื่อว่า “พระแม่ลักษมี” ถือกำเนิดขึ้นในคราวกวนเกษียรสมุทรเพื่อทำน้ำอมฤต
เชื่อกันว่าพระองค์เป็นมหาเทวีแห่งความร่ำรวย ความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ และความรัก พระองค์จะประทานทรัพย์สินเงินทอง ความมั่งคั่งร่ำรวย และความสำเร็จในการทำมาค้าขาย การเจรจาต่อรอง และการประกอบธุรกิจให้แก่ผู้บูชาและประกอบความดีอยู่เป็นนิจ “พระแม่ลักษมี” ทรงเป็นพระชายาคู่บารมีของพระนารายณ์ไม่ว่าพระองค์จะอวตารเป็นปางอะไรพระแม่ลักษมีก็จะอวตารไปเป็นชายาของพระองค์เสมอ เช่น อวตารไปเป็นนางสีดาคู่กับพระราม เป็นต้น ด้วยความรักอันมั่นคงของทั้ง 2 พระองค์ จึงทำให้ผู้คนนิยมมาขอพรในเรื่องของความรัก ชีวิตคู่ ชีวิตครอบครัว ชาวอินเดียมักกล่าวกันว่า “พระแม่ลักษมี” ทรงเป็นมหาเทวีแห่งความงามเลิศกว่าเทพนารีใด ทำให้มีทั้งเทพและอสูรมากมายที่หมายปองพระองค์ เป็นเหตุให้พระพรหมต้องเสด็จมารับและให้นางเลือกคู่ครองเอง และพระองค์ก็ทรงเลือกพระนารายณ์เป็นพระสวามี และนี่เองคือเป็นที่มาของพิธีวิวาห์ที่ฝ่ายหญิงต้องไปสู่ขอฝ่ายชายมาเป็นสามี เรียกกันว่า “พิธีสยุมพร” ยังมีตำนานกล่าวกันว่า ครั้งหนึ่งเกิดมหาภัยแล้งครั้งใหญ่ขึ้นบนโลก แสงอาทิตย์ร้อนระอุจนผู้คนไม่สามารถออกจากบ้านได้ พอถึงยามค่ำคืนบรรดาเกษตรกรจึงพากันออกมาบูชา “พระนารายณ์” ขณะนั้นพระนารายณ์ยังทรงบรรทมอยู่ “พระแม่ลักษมี” ทรงได้ยินเสียงสวดอ้อนวอนของผู้คนที่เดือดร้อน จึงอวตารเป็น “พระธัญญลักษมี” หรือ “พระแม่โพสพ” เพื่อช่วยเหลือชาวโลก โดยทรงนำน้ำจากมหาสังข์มาโปรยปรายเป็นฝนห่าใหญ่และเนรมิตข้าวในนาพืชผลให้เจริญงอกงามอุดมสมบูรณ์สืบไป อีกทั้งพระองค์ยังเป็นพระมารดาของ “กามเทพ” จึงเป็นที่มาของเทพีแห่งความรักอีกด้วย
จากเรื่องราวแห่งความเชื่อความศรัทธาของผู้เป็นพระชายาแห่งองค์พระนารายณ์มหาเทพผู้เป็นใหญ่สูงสุดในลัทธิไวษณพนิกาย ผู้ปกป้องคุ้มครองรักษามาแต่ครั้งยุคบรรพกาล สู่การรังสรรค์ผลงานด้านจิตรกรรมและประติมากรรมอันทรงคุณค่าสุดอลังการที่มีความงดงาม ประณีต วิจิตร บรรจง พระนาม “พระแม่ลักษมี มหาเทวีนารายณี” ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของมหาเทวีแห่งความร่ำรวย ผู้บรรดาทรัพย์สินเงินทอง ความเจริญงอกงาม ความอุดมสมบูรณ์ และความสมหวังในความรัก ในรูปแบบศิลปะไทยร่วมสมัย มีพระพักตร์ที่งดงามอวบอิ่ม เปี่ยมล้นบุญญาบารมี มีพระสิริโฉมอันงดงามอย่างยิ่งสมกับเป็นมหาเทวีผู้ยิ่งใหญ่ สวมมงกุฎชฎามหาเทวีมีเส้นพระเกศายาวจรดบ่างดงามมาก ด้านหลังมีรัศมีแห่งพระบารมีที่เปล่งประกายโดยรอบ พระหัตถ์ซ้ายบนทรงรวงข้าวประดุจดังความเจริญงอกงามผลิดอกออกผลอุดมสมบูรณ์ไปทั่วทุกสารทิศ พระหัตถ์ขวาบนทรงดอกบัวอันเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์บ่งบอกถึงคุณงามความดีความรักความเมตตาที่มีอยู่ในพระองค์อย่างเปี่ยมล้นและดอกบัวประจำพระองค์ยังเป็นตัวแทนของความรักอีกด้วย พระหัตถ์ซ้ายด้านหน้าทรงโถหรือหม้อที่บรรจุเหรียญทองคำไว้จนล้นหม้อหมายถึงพระองค์จะนำพาโชคลาภความมั่งคั่งร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทองมาสู่ผู้ที่มีศรัทธาต่อพระองค์ พระหัตถ์ขวาหน้าทรงมหาสังข์หมายถึงความเป็นมหามงคลในทุกด้านเนื่องจากครั้งหนึ่งพระนารายณ์ทรงให้พรกำกับมหาสังข์ไว้ “ต่อไปนี้สิ่งใดที่ไหลออกมาจากมหาสังข์นี้ขอให้มีแต่ความเป็นสิริมงคลทั้งสิ้น” สำหรับในด้านความรักนั้นเปรียบได้ดังพระองค์ทรงรดน้ำสังข์ให้กับคู่รักคือการสมหวังในความรักนั้นเอง ทรงคล้องพระศอด้วยดอกดาวเรืองหมายถึงความเจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองในชีวิต ทรงภูษาอาภรณ์ลายดอกพร้อมเครื่องทรงอิสริยยศแห่งพระชายาขององค์พระนารายณ์มหาเทพผู้เป็นใหญ่สูงสุด ทรงประทับยืนบนดอกบัวประดุจดังยืนอยู่บนคุณงามความดีที่มีอยู่ในพระองค์อย่างเปี่ยมล้น ด้วยท่วงท่าที่งดงามอ่อนช้อยเปี่ยมด้วยพระเมตตา บริเวณเหนือขอบฐานรายล้อมด้วยกลุ่มเมฆที่รองรับดอกบัวเป็นการแสดงสถานะมหาเทวีที่เสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ ทั้งหมดนี้พระองค์จะทรงประทานให้แก่ผู้ที่มีศรัทธาต่อพระองค์อย่างแท้จริง ดังนั้นผลงานประติมากรรมแห่งศรัทธา “พระแม่ลักษมี มหาเทวีนารายณี” จึงเป็นผลงานที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมด้วยเรื่องราวอันเป็นมหามงคลยิ่ง ทั้งด้านโชคลาภ ความมั่งคั่งร่ำรวยทรัพย์สิน เงินทอง ความสมหวังในรัก ความเจริญงอกงาม ความอุดมสมบูรณ์ ในทุกด้านของชีวิต เหมาะแก่การมีไว้เป็นเครื่องเจริญสติในการสร้างคุณงามความดีและเพื่อเป็นสมบัติอันล้ำค่าสืบต่อไป
โดยผลงานดังกล่าวนี้เป็นเรื่องราวอันมีความต่อเนื่องจากผลงาน “มหาเทวีศรีอุมาคเณศวรราชสีห์” และ “พระแม่สรัสวดีมหาเทวีมยุร” ที่ทาง ARTMULET ได้เคยจัดสร้างไว้แล้ว จากแนวคิดของ อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนินงานแห่ง ARTMULET และ ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล ที่ปรึกษาโครงการ ผ่านจิตรกรเอก อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว และประติมากร อ.สุชาติ แซ่จิว สองศิลปินที่สามารถรังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ได้อย่างงดงามสุดอลังการ น่าอัศจรรย์ทั้งรายละเอียดที่ดูงดงามอ่อนช้อยดูพลิ้วไหว ทรงพลังอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่เกินคำบรรยาย และทั้งหมดนี้เพื่อมอบไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของของคนไทยสืบไป
พระพิชัยมหาสมบัติ
พระพิชัยมหาสมบัติ
พระพิชัยมหาสมบัติ
พระพุทธรูปทรงเครื่องมหาจักรพรรดิปางห้ามสมุทร ศิลปะอยุธยา
พระพุทธรูปที่งดงาม ทรงคุณค่าแห่งยุคสมัย
จากตำนานพุทธประวัติอันเกี่ยวกับพระปางห้ามสมุทรอันมีที่มาจากในครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนายังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธของพระเจ้าพิมพิสาร ทรงประทับแรมอยู่ในสำนักของอุรุเวลกัสสปะ ผู้เป็นหัวหน้าชฎิล (ฤาษี ผู้บูชาไฟ) ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนในแคว้นมคธ พระองค์ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นานัปการเพื่อทรมานฤษีอุรุเวลกัสสปะให้คลายความพยศลง ในขณะที่เกิดน้ำท่วม พระองค์ทรงกระทำปาฏิหาริย์ห้ามน้ำที่ไหลบ่ามาจากทุกสารทิศมิให้เข้ามาในที่ประทับของพระองค์ และพระพุทธองค์ได้ทรงเสด็จจงกรมภายในวงล้อมที่มีน้ำเป็นกำแพง พวกเหล่าชฎิลพายเรือมาดู เห็นเป็นอัศจรรย์จึงยอมรับในอานุภาพของพระพุทธองค์ จึงได้ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ
จากตำนานความเชื่อและความศรัทธาสู่การรังสรรค์ผลงานประติมากรรมอันล้ำค่าด้วยพระพุทธปฏิมากรทรงเครื่องใหญ่อย่างมหาจักรพรรดิอยู่ในพระอิริยาบถหงายพระหัตถ์ทั้งสองตั้งขึ้นเสมอกับพระอุระ ตามตำราพระพุทธรูปไทยสมัยรัตนโกสินทร์ใช้เรียกปางห้ามสมุทร ประดับเครื่องทรงอันประกอบด้วย มหามงกุฎทรงสูง กรรเจียกจร กระหนกเหน็บ กรองศอ พาหุรัด ทับทรวง ทองพระกร พระธำมรงค์สวมทุกพระองคุลี สังฆาฏิ สังวาล ผ้าคาดเอว สายรัดพระองค์ ปั้นเหน่ง สุวรรณกระถอบ ชายไหว ชายแครง รองพระบาท ฉลองพระบาทเชิงงอน พระภูษาที่มีลวดลายงดงามอลังการวิจิตรบรรจง ด้วยศิลปะอยุธยาในยุคราชวงศ์บ้านพลูหลวงที่มีความงดงามอลังการเป็นที่สุด
ผลงานดังกล่าวนี้ Artmulet นำโดย อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนินงาน และ ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สังคมและการเมือง ที่ปรึกษาโครงการ และคณะกรรมการวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง จึงมีมติเห็นตรงกันว่า สมควรให้มีการจัดสร้าง “พระพิชัยมหาสมบัติ” ขึ้นมาเพื่อระงับเหตุเภทภัยทั้งหลายและนำพาความเป็นสิริมงคลสู่มหาสมบัติจักรพรรดิแก่ผู้ที่จะนำพระพุทธปฏิมากรองค์นี้ไปสักการะบูชาโดยถวายพระนาม “พระพิชัยมหาสมบัติ” นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากจิตรกรเอกชื่อดัง อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว และอ.สุชาติ แซ่จิว บรมครูด้านประติมากรชื่อดัง เป็นผู้รังสรรค์ปั้นแต่งพระพุทธปฏิมากรองค์ต้นแบบนี้ ด้วยความประณีต วิจิตรบรรจง งดงาม ตระการตาและอลังการเป็นที่สุด ทั้งนี้เพื่อมอบไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าแด่ผู้มีจิตศรัทธาในการร่วมจัดสร้างที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรมและศาลาอเนกประสงค์ ณ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
ดังนั้น “พระพิชัยมหาสมบัติ” จึงถือได้ว่าเป็นพระพุทธปฏิมากรที่ทรงคุณค่าเป็นที่สุดในทุกๆ ด้าน สมควรอย่างยิ่งที่ต้องมีไว้เป็นพระประจำตัว ประจำบ้าน ประจำตระกูลเพื่อระงับเหตุเภทภัยและให้ผู้ที่สักการะบูชาเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตสู่มหาสมบัติจักรพรรดิสมดังปรารถนา เป็นมรดกสืบต่อไปยังลูกหลานในวันข้างหน้า และเพื่อมอบไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
พระสรัสวดีมหาเทวีมยุร
พระสรัสวดีมหาเทวีมยุร
พระสรัสวดีมหาเทวีมยุร
เทพีแห่งสายน้ำความเจริญงอกงาม ความอุดมสมบูรณ์ในทุกๆ ด้านที่ปรารถนา
เทวีแห่งศาสตร์และความฉลาดรอบรู้ในสรรพวิชาทั้งหลาย
พระสรัสวดีมหาเทวีมยุระ คือหนึ่งในสามของมหาเทวีอันยิ่งใหญ่ในลัทธิพราหมณ์-ฮินดู พระองค์ทรงเป็นพระชายาแห่งพระพรหมหนึ่งในสามมหาเทพผู้สร้างและผู้รอบรู้ในคัมภีร์พระเวททั้งหลาย ดังนั้นพระนางจึงถือได้ว่าเป็นมหาเทวีองค์แรก แม้ในคัมภีร์พระเวทรวมถึงในมหากาพย์อย่างมหาภารตะก็ได้กล่าวถึงพระสรัสวดี ไว้ว่าทรงเป็นมารดาผู้ให้กำเนิดสายน้ำอันบริสุทธิ์และนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญงอกงาม แก่มวลมนุษยชาติและบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายมาตั้งแต่ยุคบรรพกาล ต่อมาในภายหลังพระนางยังได้รับการยกย่องและยอมรับมากขึ้นในฐานะเป็นเทวีแห่งศาสตร์ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ในสรรพวิชาทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นด้านศิลปะในทุกแขนง ทั้งการแสดง การดนตรี การร่ายรำ ด้านอักษรศาสตร์ วรรณคดี ศิลปะการพูด การเจรจาให้ได้รับความสำเร็จ จึงถือได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นความสมบูรณ์พร้อมในทุกด้านของชีวิต อีกทั้งพระองค์ยังมีนกยูงหรือมยุรเป็นพาหนะคู่กายซึ่งนกยูงนั้นเป็นสัตว์ที่มีความงดงามและเชื่อมั่นในความงามของตนเองประดุจได้ดังความดีงามความรอบรู้ในสรรพวิชาทั้งหลายจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเองในทุกขณะจิตอันจะนำพาความสำเร็จทั้งหลายมาสู่ตนดังนั้นผู้ที่บูชา พระแม่สรัสวดีมหาเทวีมยุร จึงเป็นผู้ที่ปรารถนาความเจริญงอกงาม ความอุดมสมบูรณ์ในทุกด้านของชีวิต รวมทั้งเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในความรอบรู้ในสรรพวิชาทั้งหลาย อันจะนำพาความสำเร็จอันยิ่งใหญ่มาสู่ชีวิตอีกด้วย
จากเรื่องราวแห่งความเชื่อความศรัทธาของ ผู้เป็นพระชายาแห่งองค์พระพรหมมหาเทพผู้สร้างตั้งแต่ยุคบรรพกาล สู่การรังสรรค์ผลงานด้านจิตรกรรมและประติมากรรมอันทรงคุณค่าที่มีความงดงาม ประณีต วิจิตร บรรจง สุดอลังการ พระนาม “พระแม่สรัสวดีมหาเทวีมยุร” ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของเทพีแห่งสายน้ำความเจริญงอกงาม ความอุดมสมบูรณ์ในทุกๆ ด้านที่ปรารถนา เทวีแห่งศาสตร์และความฉลาดรอบรู้ในสรรพวิชาทั้งหลาย ในรูปแบบศิลปะไทยร่วมสมัย มีพระพักตร์ยิ้มแย้มเล็กน้อยดูสุขุมนุ่มลึก ด้วยความเชื่อมั่นในความรู้ทั้งหลายที่มีอยู่ในทุกอณูแห่งพระนาง และเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตามีพระสิริโฉมอันงดงามอย่างยิ่งสมกับเป็นมหาเทวีผู้ยิ่งใหญ่ สวมมงกุฎมหาเทพีมีเส้นผมยาวจรดบ่างดงามมาก สวมต้มหูทั้งสองข้าง ด้านหลังเปล่งรัศมีวงกลมโดยรอบประดุจได้ดังความรอบรู้อันไม่มีที่สิ้นสุด พระหัตถ์ซ้ายและขวาด้านหน้าทรงวีนาเครื่องดนตรีที่พระองค์ทรงโปรดเป็นพลังสร้างสรรค์ศิลปะวิทยาการความรู้ความสามารถ ความอุดมสมบูรณ์ทั้งหลายให้เจริญงอกงามผลิดอกออกผลกังวาลไกลไปทั่วทุกสารทิศ พระหัตถ์ขวาหลังทรงสร้อยประคำหมายถึงการใช้สติวิเคราะห์ในสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นอันนำไปสู่หนทางแห่งความสำเร็จ พระหัตถ์ซ้ายทรงคัมภีร์อันหมายถึงการนำองค์ความรู้ทั้งหลายที่มีอยู่ในสากลจักรวาลไปใช้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์พร้อมในชีวิต ทรงภูษาอาภรณ์ลายดอกพร้อมเครื่องทรงอิสริยยศแห่งพระชายาขององค์พระพรหมมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ ทรงประทับยืนบนดอกบัวประดุจดังยืนอยู่บนความดีงามที่พระองค์มีอยู่เปี่ยมล้นในท่วงท่าที่งดงามอ่อนช้อยและเชื่อมั่นในพระองค์ บริเวณฐานด้านหลังมีนกยูงพาหนะคู่กายพระนางยืนอยู่บนโขดหินเหนือสายน้ำที่มีท่วงท่าและขนปีกอันสง่างาม ประดุจได้ดังความเชื่อมั่นในความงดงามแห่งคุณงามความดีทั้งหลายที่มีอยู่ในตัว บริเวณขอบฐานรายล้อมด้วยสร้อยมาลาอันหมายถึงความสมบูรณ์พร้อมในทุกด้านของชีวิตที่พระนางทรงประทานให้แก่ผู้ที่ศรัทธาในพระองค์อย่างแท้จริง ดังนั้นผลงานประติมากรรมแห่งศรัทธา “พระแม่สรัสวดีมหาเทวีมยุร” จึงเป็นผลงานที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมด้วยเรื่องราวอันเป็นมงคลทั้งหลายอันจะนำมาซึ่งความเจริญงอกงาม ความอุดมสมบูรณ์ในทุกด้านของชีวิต มาสู่ผู้ที่ได้มีไว้ในครอบครองและเพื่อเป็นสมบัติของวงศ์ตระกูลสืบต่อไป
โดยผลงานดังกล่าวนี้เป็นเรื่องราวอันมีความต่อเนื่องจากผลงาน มหาเทวีศรีอุมาคเณศวรราชสีห์ ที่ทาง ARTMULET ได้เคยจัดสร้างไว้แล้ว จากแนวคิดของ อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนินงานแห่ง ARTMULET และ ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล ที่ปรึกษาโครงการ ผ่านจิตรกรเอก อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว และประติมากร อ.สุชาติ แซ่จิว สองศิลปินที่สามารถรังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ได้อย่างงดงามสุดอลังการอย่างน่าอัศจรรย์ทั้งรายละเอียดที่ดูอ่อนช้อยงดงามพริ้วไหวดูสุขุมนุ่มลึก แต่ทรงพลังอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่เกินคำบรรยาย และทั้งหมดนี้เพื่อฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของของคนไทยสืบไป
พระตรีมูรติมหาเทพ
พระตรีมูรติมหาเทพ
มหาเทพผู้นำพาความสำเร็จสมปรารถนาอันสูงสุดมาสู่มวลมนุษยชาติ
ผลงานประติมากรรมที่มีความยิ่งใหญ่สุดอลังการด้วยการผสานพลังอำนาจ ศิลปะวิทยาการ พระบารมีอันยิ่งใหญ่ให้รวมเป็นหนึ่งเดียวของสามมหาเทพอันถือเป็นที่สุดตามความเชื่อและความศรัทธาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อันได้แก่พระอิศวรหรือพระศิวะมหาเทพองค์สูงสุด ตามลัทธิไศวนิกาย ผู้เป็นใหญ่ในสามโลก ผู้อยู่เหนือกาลเวลา ผู้สถิต ณ เขาไกรลาสแกนกลางของจักรวาล ผู้ทำลายล้างสิ่งเลวร้ายทั้งหลายให้หมดสิ้นไป เพื่อก่อกำเนิดสิ่งต่างๆ ขึ้นใหม่ โดยพระพรหมมหาเทพผู้ลิขิตความเป็นไปแห่งมวลมนุษยชาติ ผู้ยิ่งใหญ่ในพระเวทและเป็นผู้รังสรรค์สิ่งใหม่ในสรรพชีวิตทั้งหลาย โดยมีมหาเทพองค์สำคัญคือพระนารายณ์หรือพระวิษณุมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่และสูงสุดตามลัทธิไวษณพนิกาย ผู้อวตารเป็นเทพองค์ต่างๆ ได้อย่างมากมายเพื่อแก้ไขขจัดปัญหาและอุปสรรคในช่วงเวลาวิกฤตทั้งหลายที่เกิดขึ้น ถือเป็นมหาเทพผู้ปกป้องดูแลคุ้มครองและรักษาให้ธำรงคงอยู่
จากเรื่องราวแห่งความเชื่อและความศรัทธาของมหาเทพผู้เป็นใหญ่ทั้งสามพระองค์ สู่ผลงานประติมากรรม ที่มีความงดงาม อลังการ และทรงคุณค่าในรูปแบบศิลปะไทย พระนาม “พระตรีมูรติมหาเทพ”
พระตรีมูรติมหาเทพ ถือเป็นมหาเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นการอวตารมารวมกันของมหาเทพองค์สูงสุดทั้งสามพระองค์ คือ พระพรหม พระนารายณ์ และพระอิศวร หากมองในมุมของปรัชญาแล้วเปรียบได้ดัง ผู้สร้าง ผู้รักษา และผู้ทำลาย อันหมายถึง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป คนไทยให้ความสำคัญกับพระตรีมูรติ เป็นสัญลักษณ์ของการสมปรารถนาในด้านความรัก แท้ที่จริงแล้วพระตรีมูรติจะประทานพรแห่งความสำเร็จในทุกๆ ด้านให้แก่ผู้ที่ทำความดีอีกด้วย
จากตำนานแห่งความศรัทธาสู่การรังสรรค์ผลงานด้านจิตรกรรมและประติมากรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราวของการอวตารเพื่อผสานพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ของสามมหาเทพผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู สู่องค์ พระตรีมูรติมหาเทพ ในรูปแบบศิลปะไทยร่วมสมัย เทวลักษณะยืนอยู่ในท่วงท่าที่องอาจผึ่งผาย มีสามเศียรสี่กร โดยเศียรด้านหน้าเป็นเศียรของพระอิศวรหรือพระศิวะมีพระพักตร์สงบนิ่ง ดูอิ่มเอิบ ด้วยความสุขจากภายในสู่ภายนอก พระนลาฏมีพระเนตรที่สามอันเป็นสัญลักษณ์ของการมองทะลุปัญหาล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า และใช้ทำลายล้างสิ่งอัปมงคลชั่วร้ายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่โลกยุคใหม่ ทรงมงกุฎมีสัญลักษณ์ปิ่นพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว พระเศียรด้านขวาเป็นเศียรพระนารายณ์มีพระพักตร์ที่งดงามดูสุขุมนุ่มลึกทรงมงกุฎทรงสูง พระเศียรด้านซ้ายเป็นเศียรของพระพรหม พระพักตร์มีหนวดเคราดูเข้มขลัง ทรงมงกุฎที่มีพระพักตร์ทั้งสี่ของพระพรหมอยู่ด้านบน ทรงภูษาอาภรณ์ด้วยเครื่องทรงอย่างกษัตริย์ มีภูษาพาดไหล่คล้องพระศอด้วยนาคสังวาลย์ พระหัตถ์ขวาของพระองค์ทรงตรีศูลอาวุธอันทรงพลานุภาพและบัณเฑาะว์สัญลักษณ์แห่งการอยู่เหนือทั้งสามโลก พระหัตถ์ซ้ายทรงมหาธนูสัญลักษณ์สู่ความสมบูรณ์ด้วยอำนาจ พระหัตถ์ซ้ายบนทรงคัมภีร์มหาพรหมสัญลักษณ์แห่งสรรพวิชาและองค์ความรู้ทั้งหลาย นำไปสู่การตื่นรู้พบความสำเร็จสมปรารถนาทั้งหลายไปสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง พระหัตถ์ขวาบนทรงจักรพระนารายณ์ผู้ขจัดปัญหาอุปสรรคทั้งหลายให้หมดสิ้นไปอันเป็นสัญลักษณ์แห่งการเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยคุณธรรมความดีงามที่ปรากฏไปทั้งสามโลก ประทับยืนบนฐานสามชั้นประดุจดังการยืนอยู่เหนือโลกทั้งสาม โดยฐานชั้นบนรายล้อมด้วยกลีบบัวและบุปผาสวรรค์ ฐานชั้นกลางประกอบด้วยลายประจำยามทั้งสี่ทิศประดุจดังการระวังป้องกันรอบด้านมีสัญลักษณ์พาหนะของมหาเทพทั้งสามอยู่โดยรอบ คือ โคนนทิ พญาครุฑ และพญาหงส์ สื่อความหมายถึงการมีบริวารผู้เก่งกล้าสามารถซื่อสัตย์กตัญญูคอยให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ฐานชั้นล่างรายล้อมด้วยสายน้ำ และพืชพันธุ์ปลาต่างๆ อันเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ เมื่อองค์ประกอบทั้งหมดถูกรวมเข้าด้วยกันแล้วมหาเทพองค์นี้นอกจากถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จสมปรารถในทุกๆ ด้านแล้ว ยังหมายถึงความสำเร็จสมปรารถนาในด้านความรักอันจะนำมาซึ่งความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่ผู้ที่ได้มีไว้ในครอบครอง และเพื่อเป็นสมบัติของวงศ์ตระกูลสืบต่อไปอีกด้วย
โดยผลงานดังกล่าวนี้สืบเนื่องจากแนวคิดจาก อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนินงานแห่ง Artmulet และ ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล ที่ปรึกษาโครงการ ผ่านจิตรกรเอก อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว และประติมากรชั้นครู อ.สุชาติ แซ่จิว สองศิลปินที่สามารถรังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ได้อย่างงดงามสุดอลังการอย่างน่าอัศจรรย์ทั้งรายละเอียดที่ดูอ่อนช้อยงดงามพริ้วไหวแต่ทรงพลังอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่เกินคำบรรยาย และทั้งหมดนี้เพื่อมอบไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของของคนไทยสืบไป
หนุมานครองเมือง
หนุมานครองเมือง
หนุมานทหารเอกของพระรามผู้มีความเฉลียวฉลาด มีความเก่งกล้าสามารถรอบด้านจากมหากาพย์อันยิ่งใหญ่อย่างรามเกียรติ์ ผู้ถือกำเนิดจากเทวโองการของพระอิศวรที่ให้พระพายนำเทพศาสตราวุธทั้งสามและกำลังกายจากพระองค์ไปซัดเข้าในปากของนางสวาหะ ที่โดยสาปจากมารดาให้ยืนขาเดียวกินลมอยู่บนเชิงเข้าจักรวาล จนทำให้นางตั้งครรภ์และพ้นจากคำสาป เมื่อนางได้ให้กำเนิดโอรสเป็นลิงเผือกที่มีกระบองเพชรของพระอิศวรเป็นสันหลังตลอดหาง มีตรีเพชรเป็นตัวเป็นมือและเท้า มีจักรแก้วเป็นหัว เมื่อจะต่อสู้กับศัตรูก็สามารถชักเอาตรีเพชรที่อกออกมาได้ มีกุณฑลขนเพชร เขี้ยวแก้ว เมื่อสำแดงฤทธิ์จะหาวเป็นดาวเป็นเดือน และมีแปดมือ สี่หน้า ได้นามตามที่พระอิศวรประทานไว้ว่า "หนุมาน" และยังประทานพรแก่ หนุมาน หากต้องตายด้วยเหตุใดเมื่อพระพายพัดมาต้องกายให้กลับฟื้นและยังได้รับพลังครึ่งหนึ่งจากพระพายผู้รับเป็นพ่อของหนุมานอีกด้วย การถือกำเนิดของหนุมานนั้นก็เพื่อมาช่วยเหลือพระรามซึ่งคืออวตารพระนารายณ์ที่ลงมาเพื่อฆ่าพญายักษ์ทศกัณฐ์ ซึ่งในอดีตชาติของทศกัณฐ์ก็คือยักษ์นนทกผู้ที่เคยทำหน้าที่ล้างเท้าให้เทวดาที่จะไปเข้าเฝ้าพระอิศวรและได้เคยถูกพระนารายณ์ฆ่าตายมาแล้วนั่นเอง ด้วยความเฉลียวฉลาดและความเก่งกล้าสามารถในทุกๆ ด้านของหนุมานและเหล่าบรรดา สิบแปดมงกุฎเสนาวานร ทำให้พระรามสามารถเอาชนะทศกัณฐ์พญายักษ์ผู้ยิ่งใหญ่ผู้มีสิบหน้ายี่สิบมือ มากด้วยฤทธิ์เดชอำนาจ แต่ทศกัณฐ์ก็ต้องมาตายในสนามรบด้วยศรของพระรามพร้อมกับถูกบดขยี้กล่องดวงใจด้วยอุบายของหนุมานในครั้งศึกชิงนางสีดา จนในเวลาต่อมานั้นพระรามได้ยกกรุงอโยธยาครึ่งหนึ่งให้กับหนุมานปกครองร่วมกับพระองค์แต่ในเวลาต่อมาหนุมานก็ขอคืนเมืองอโยธยาให้กับพระราม และหนุมานก็ได้ไปครองเมืองนพบุรีหรือลพบุรีในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าด้วยความเฉลียวฉลาดและความเก่งกล้าสามารถที่มีอยู่ในตัวของหนุมานนั้น ทำให้หนุมานสามารถพลิกชีวิตพลิกชะตาของตัวเองขึ้นสู่อำนาจวาสนาบารมีสู่จุดสูงสุดของชีวิตได้ในที่สุด
ในส่วนของ “สิบแปดมงกุฎ” หรือ "เสนาวานร ๑๘ ตน” นั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มทหารเอกของพระราม ที่มีเครื่องสวมหัวเรียกว่ามงกุฎ วานรเหล่านี้มาจากเมืองขีดขินของสุครีพ และเมืองชมพูของท้าวมหาชมพู แต่ละตนล้วนแล้วแต่เป็นเทวดาอาสาแบ่งภาคมาช่วยพระรามหรือพระนารายณ์อวตารที่ลงมาปราบยักษ์คือทศกัณฐ์ทั้งสิ้น ดังบทละครรามเกียรติ์ที่กล่าวถึงตอนนี้ว่า “เมื่อนั้น ฝูงเทพเทวาน้อยใหญ่ ต่างทูลอาสาพระภูวไนย จะขอไปเป็นพลพระอวตาร มาล้างเหล่าอสูรพาลา ที่หยาบช้าเบียนโลกทุกสถาน” เทวดาเหล่านี้มีทั้งที่เป็นโอรสของ
มเหสักขเทวราช คือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เทวดานพเคราะห์ คือเทวดาที่โคจรในราศี ท้าวจตุโลกบาลคือเทวดาผู้ดูแลทิศต่างๆ และเทวดาประจำธรรมชาติ ดังนั้น สิบแปดมงกุฎจึงเป็นเทวดาที่แบ่งภาคมา โดยแต่ละตนมีชื่อเรียกและภูมิหลังที่แตกต่างกันไป ดังนี้
๑.เกยูร คือ ท้าววิรุฬหก ผู้เป็นใหญ่ในยักษ์ทั้งหลายและเป็นหนึ่งในจตุโลกบาลประจำทิศใต้ ได้แบ่งภาคมาเป็นเกยูร วานรเมืองขีดขิน
๒.มายูร คือ ท้าววิรูปักษ์ ผู้เป็นใหญ่ในหมู่พญานาค เป็นหนึ่งในจตุโลกบาลประจำทิศตะวันตก แบ่งภาคมาเป็นมายูร วานรเมืองขีดขิน
๓.โกมุทหรือโคมุท คือ พระหิมพานต์ ผู้ดูแลรักษาป่าหิมพานต์ มีฤทธิ์เดชเก่งกล้ามาก รบชนะพวกยักษ์เสมอ แบ่งภาคมาเป็นวานรเมืองขีดขิน
๔.ไชยามพวาน คือ พระอีศาณหรือพระวิศาลเทวบุตร แบ่งภาคมาเป็นวานรเมืองขีดขิน
๕.ไวยบุตร คือ พระพิรุณ เทพแห่งฝน แบ่งภาคเป็นวานรเมืองขีดขิน
๖.สุรกานต์ คือ พระมหาชัย แบ่งภาคมาเป็นวานรเมืองขีดขิน
๗.นิลเอก คือ พระพินาย แบ่งภาคมาเป็นวานรเมืองชมพู
๘.นิลขัน คือ พระพิเนกหรือพระพิฆเนศ แบ่งภาคมาเป็นวานรเมืองชมพู
๙.กุมิตัน คือ พระเกตุ หนึ่งในเทวดานพเคราะห์ มาแบ่งภาคมา บ้างก็ว่าอยู่เมืองชมพู
๑๐.นิลราช คือ พระสมุทร แบ่งภาคมาเป็นวานรเมืองชมพู
๑๑.สัตพลี คือ พระจันทร์ หนึ่งในเทวดานพเคราะห์ แบ่งภาคมาเป็นวานรเมืองขีดขิน
๑๒.วิสันตราวี คือ พระอังคาร เทพแห่งสงคราม หนึ่งในเทวดานพเคราะห์ แบ่งภาคมาเป็นวานรเมืองชมพู
๑๓.สุรเสน คือ พระพุธ เทวดานพเคราะห์ แบ่งภาคมาเป็นวานรเมืองขีดขิน
๑๔.นิลปานัน คือ พระราหู เทวดานพเคราะห์ แบ่งภาคมาเป็นวานรเมืองชมพู
๑๕.มาลุนทเกสร คือ พระพฤหัสบดี เทวดานพเคราะห์ แบ่งภาคมาเป็นวานรเมืองขีดขิน
๑๖.นิลปาสัน คือ พระศุกร์ เทวดานพเคราะห์ แบ่งภาคมาเป็นวานรเมืองชมพู
๑๗.นิลพานร หรือ วิมล คือ พระเสาร์ เทวดานพเคราะห์ที่ แบ่งภาคมาเป็นวานรเมืองขีดขิน
๑๘.เกสรทมาลา คือ พระไพศรพณ์ แบ่งภาคมาเป็นวานรเมืองขีดขิน
เหล่าวานรสิบแปดมงกุฎนั้นได้รับพรจากพระอิศวรว่า แม้ต้องอาวุธตายแล้ว หากพระพายพัดมาก็จะกลับฟื้นเช่นเดียวกับหนุมาน เมื่อครั้งสหัสเดชะ เจ้าเมืองปางตาลยกทัพมาช่วยทศกัณฐ์รบ ในขณะที่ไพร่พลลิงอื่นๆ ล้วนหนีหายไปสิ้น เพราะสหัสเดชะได้รับพรจากพระพรหมว่า ศัตรูใดแค่เห็นหน้า ก็จะเกิดความกลัว หนีหายไปหมด แต่วานรสิบแปดมงกุฎกลับไม่ได้หนีเลย ดังคำกลอนที่ว่า เหลือแต่สุครีพหนุมาน องคตชมพูพานทหารใหญ่ ทั้งสิบแปดมงกฎวุฒิไกร พิเภกผู้ไวปัญญา
จากตำนานเรื่องราวแห่งความเชื่อความศรัทธาของหนุมานผู้เป็นใหญ่ด้วยด้วยความเฉลียวฉลาดเก่งกล้าสามารถรวมทั้งสิบแปดมงกุฎเสนาวานร สู่ผลงานประติมากรรมอันทรงคุณค่าที่มีศิลปะอันงดงามสุดอลังการ “หนุมานครองเมือง” ด้วยการรังสรรค์ผลงานที่ถ่ายทอดเรื่องราวของหนุมานทหารเอกของพระรามและสิบแปดมงกุฎเสนาวานร ผู้ที่ใช้ความเฉลียวฉลาด ความเก่งกล้าสามารถทำภารกิจทั้งหลายให้ลุล่วง ผ่านพ้นอุปสรรคทั้งหลายมาแล้ว และต่างก็ได้เมืองมาครองในที่สุด ด้วยรูปแบบศิลปะไทยแบบคลาสสิก
โดยหนุมานนั้นอยู่ในลักษณะขยายร่างใหญ่โตอยู่เหนือยอดเขา ขณะนั่งยกเข่าซ้ายก้มมองมายังเบื้องล่างเพื่อตรวจตราสังเกตการณ์รอบเมือง ทรงเครื่องเต็มยศ ทั้งสร้อยสังวาลย์ กำไลข้อมือ กำไลแขน มือซ้ายถือมงกุฎอันเป็นสัญญะของการครองเมือง มือขวากำคฑาพร้อมบัญชาการ ด้วยท่วงท่าที่องอาจแฝงไปด้วยพลังแห่งฤทธิ์เดชและอำนาจ บริเวณด้านหน้าภูเขา มีสัญญาลักษณ์เมือง เหนือเมืองมีตรีเพชรอาวุธคู่กายของหนุมานที่แผ่รัศมีเป็นเกราะแก้วคุมเมืองอยู่ สื่อความหมายถึงอำนาจของการปกครองที่ได้มาจากความรู้ ความเฉลียวฉลาด ความเก่งกล้าสามารถรอบด้านของผู้ปกครอง บริเวณรอบเขารายล้อมไปด้วยเหล่าเสนาวานรสิบแปดตนเปรียบได้ดัง การได้ผู้ที่มีความรู้ ความเฉลียวฉลาด เก่งกล้าสามารถรอบด้านมาคอยช่วยเหลือเกื้อหนุนอยู่รอบตัว ดังนั้นการบูชา “หนุมานครองเมือง” พร้อมเหล่าสิบแปดมงกุฎเสนาวานร จะนำมาสู่การพลิกชีวิต พลิกชะตา ขึ้นสู่อำนาจวาสนา บารมีสูงสุด ดังเช่นในอดีตจนถึงปัจจุบันพระเกจิอาจารย์หลายท่านหลายสำนักได้มีการสร้างหนุมานให้บรรดาลูกศิษย์ได้นำไปบูชา ที่โด่งดังและมีประสบการณ์มากที่สุด ได้แก่ หนุมานหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน จ.นนทบุรี เป็นต้น
ดังนั้นผลงานประติมากรรมแห่งศรัทธา “หนุมานครองเมือง” ครั้งนี้ จึงเป็นผลงานอันเกิดขึ้นจากการประยุกต์เรื่องราวแห่งศรัทธาอันจะนำมาเป็นเครื่องเจริญสติในการสร้างคุณงามความดีทั้งหลายแก่ผู้ที่ได้มีไว้ในครอบครองและเพื่อเป็นสมบัติของวงศ์ตระกูลสืบต่อไป โดยผลงานดังกล่าวนี้เกิดจากแนวคิดของ อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนินงานแห่ง ARTMULET และ ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล ที่ปรึกษาโครงการ ผ่านจิตรกรเอก อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว และประติมากร อ.สุชาติ แซ่จิว สองศิลปินผู้รังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ได้อย่างงดงามสุดอลังการน่าอัศจรรย์ทั้งรายละเอียดที่ดูอ่อนช้อยงดงามพริ้วไหวแต่ทรงพลังอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่เกินคำบรรยาย ทั้งหมดนี้เพื่อมอบไว้แด่ผู้ที่มีจิตศรัทธาและมอบไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
นารายณ์ทรงสุบรรณอนันตนาคราช
นารายณ์ทรงสุบรรณอนันตนาคราช
นารายณ์ทรงสุบรรณอนันตนาคราช
3 ประสานแห่งความสำเร็จอันยิ่งใหญ่
สู่อำนาจ วาสนา บารมี ทรัพย์สิน บริวาร
Artmulet ขอนำเสนอผลงานประติมากรรมองค์สำคัญที่ผู้คนทั้งหลายไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน มีความเกี่ยวข้องกับมหาเทพองค์สูงสุดเหนือกว่าเทพองค์ใดในจักรวาล เป็นผู้ปกปักรักษาทุกสรรพสิ่ง ผู้ประทานความรุ่งเรือง ก้าวหน้า มั่นคง สมบูรณ์ด้วยอำนาจ วาสนา บารมี เป็นหนึ่งในตรีมูรติและยังสามารถอวตารเป็นเทพองค์อื่นได้อีกมากมาย อันหมายถึง “พระนารายณ์” ชื่อที่คนไทยคุ้นกันดีอยู่แล้ว พระนารายณ์นั้นเวลาท่านจะเสด็จไปในที่ต่างๆ ก็จะมีพญาครุฑหรือพญาสุบรรณ ทำหน้าที่เป็นพาหนะให้ แต่หากไม่มีภารกิจอันใดแล้วพระองค์จะบรรทมอยู่ในเกษียรสมุทรโดยมีพญาอนันตนาคราชทำหน้าที่เป็นบัลลังก์ให้ ทั้งพญาครุฑและพญาอนันตนาคราชนั้น เป็นพี่น้องต่างมารดากันและต่างก็เป็นผู้มีฤทธิ์เดชไม่แพ้กัน
พญาครุฑนั้นถือเป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ อาศัยอยู่ ณ วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งวัชระหรือสายฟ้าของพระอินทร์ จะทำได้ก็เพียงแต่ทำให้ขนปีกของครุฑหลุดร่วงลงเพียงเส้นเดียวเท่านั้น ครุฑมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" อันหมายถึง "ผู้มีปีกอันวิเศษงดงามทรงพลัง" ครุฑมีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง บินได้รวดเร็ว มีสติปัญญาแหลมคม อ่อนน้อมถ่อมตน ในมหากาพย์อย่างมหาภารตะนั้นเล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคแต่ต่อมาภายหลังเกิดมีความขัดแย้งกันจึงกลายเป็นศัตรูกัน
ส่วนพญาอนันตนาคราชนั้น ถือเป็นราชาแห่งพญานาคผู้เป็นใหญ่ในนครบาดาลและเกษียรสมุทร และยังเชื่อกันว่าเป็นอีกร่างหนึ่งขององค์พระนารายณ์ ที่อวตารมาเป็นพญานาคราชผู้มีหน้าที่คอยรองรับแผ่นดิน และเป็นผู้ที่จะพ่นไฟทำลายล้างสิ่งชั่วร้ายเพื่อก่อกำเนิดสิ่งใหม่ทั้งยังทรงเป็นเทพบัลลังก์แห่งพระนารายณ์ พญาอนันตนาคราชนั้น เป็นพญานาคผู้เลื่องชื่อในเรื่องของฤทธิ์เดช อำนาจ และบารมี โดยเฉพาะตามคติของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ถือว่าพญาอนันตนาคราช นั้นเป็นที่สุดแห่งพญานาคทั้งปวง เป็นที่เคารพสักการะของผู้คนทั้งหลาย มีพลังอำนาจ มากด้วยบารมี และเป็นที่ยอมรับมากที่สุด ดุจดังนามอันยิ่งใหญ่ “พญาอนันตนาคราช” นั่นเอง
จากตำนานแห่งความเชื่อความศรัทธาสู่การรังสรรค์ผลงานด้านจิตรกรรมและประติมากรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราวแห่งองค์พระนารายณ์มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ขณะทรงพญาสุบรรณและพญาอนันตนาคราช พระหัตถ์ซ้ายของพระองค์ทรงตรีสัญลักษณ์แห่งผู้เป็นใหญ่เหนือผู้อื่นใดในสามโลก พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์สัญลักษณ์แห่งผู้ทรงฤทธิ์อำนาจในการบัญชาการทั้งหลาย พระหัตถ์ขวาบนทรงจักรสัญลักษณ์แห่งการเคลื่อนไปข้างหน้าลบล้างสิ่งชั่วร้ายสร้างคุณธรรมความดี พระหัตถ์ซ้ายบนทรงสังข์สัญลักษณ์แห่งการมีชื่อเสียงในคุณธรรมความดี
ทรงพญาสุบรรณ ที่มีลักษณะกึ่งคนกึ่งเทพคือมีลำตัวเป็นคน มีหัวและขาเป็นนกตามแบบสากลนิยม ลักษณะกางปีกเหินเวหาทรงพลังอำนาจ หนุนดวงชะตา เสริมบารมี นำพาผู้ศรัทธาสู่ความมั่งคั่ง รุ่งเรือง
มีพญาอนันตนาคราชผู้เป็นราชาเหนือพญานาคทั้งปวงทรงเป็นบัลลังก์อันยิ่งใหญ่ให้แก่พระองค์ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์มั่งคั่งอย่างหาที่สุดมิได้ พร้อมทั้งกลุ่มเมฆอันเป็นสัญลักษณ์แห่งสวรรค์ อันจะนำพาความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลมาสู่ตนและวงศ์ตระกูลสืบไป
ดังนั้นผลงานประติมากรรมในครั้งนี้ถือได้ว่าสำคัญเป็นที่สุดเป็นสิ่งที่ผู้คนทั้งหลายไม่เคยได้พบเห็นมาก่อนและเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่นี่กับการอยู่ร่วมกันของครุฑและนาคอย่างสมานฉันท์ด้วยหน้าที่ ดังนั้นผลงานประติมากรรมอันทรงพระนาม “นารายณ์ทรงสุบรรณอนันตนาคราช” จึงถือเป็น 3ประสานแห่งความสำเร็จอันยิ่งใหญ่
โดยพระนารายณ์ ถือเป็นตัวแทนแห่งเจ้าผู้ปกครองผู้เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา คุณธรรม ความดี มีความเฉลียวฉลาด ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา อันเป็นคุณสมบัติอันควรค่าแก่การเป็นต้นแบบแห่งเจ้าผู้ปกครองอย่างแท้จริง อันจะนำมาซึ่งบริวารที่มีความเก่งกล้าสามารถไม่เป็นสองรองใครอีกทั้งยังมีความซื่อสัตย์ กตัญญูรู้คุณและจงรักภักดี ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติประจำตัวของพญาครุฑหรือพญาสุบรรณ ส่วนพญาอนันตนาคราชนั้นเปรียบประดุจดัง ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่แห่งหนตำบลใดหรือแม้แต่จะกระทำการใดๆ ย่อมได้รับการสนับสนุนจากทุกๆ ฝ่ายและได้รับความเกื้อหนุนจากผู้คนทั้งหลาย อันเป็นคุณสมบัติของพญาอนันตนาคราชผู้เป็นราชาแห่งนาคทั้งปวงโดยเหล่านาคนั้นมีอยู่อย่างมากมายในทุกที่ทุกสถานอันเป็นอนันต์ และพญานาคนั้นเป็นที่เคารพสักการะบูชามาตั้งแต่ครั้งอดีตกาลจวบจนถึงปัจจุบัน
โดยผลงานดังกล่าวนี้สืบเนื่องจาก คุณสนธิ ลิ้มทองกุล และคุณจิตตนาถ ลิ้มทองกุล เจ้าของผลงาน ได้เชิญ อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ผู้เชี่ยวชาญการสื่อสารงานพุทธเทวศิลป์ประธานดำเนินงาน แห่ง Artmulet มาปรึกษาเพื่อค้นหาแนวทางในการจัดสร้างผลงานประติมากรรมแห่งศรัทธา โดยมีหัวใจยันต์มหารวยของ อ.ไพโรจน์ รื่นวิชา ขนาด 3x3 เมตรเป็นต้นแบบ อันนำไปสู่การรังสรรค์ผลงานประติมากรรม นารายณ์ทรงสุบรรณอนันตนาคราช โดย Artmulet และถือได้ว่าผลงานประติมากรรมในครั้งนี้มีความงดงามอลังการเป็นที่น่าอัศจรรย์ทั้งรายละเอียดที่ดูอ่อนช้อยแต่แฝงด้วยพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่เหนือคำบรรยาย และทั้งหมดนี้เพื่อมอบไว้เป็นมรดกอันล้ำค่าสืบทอดไปยังลูกหลานเพื่อเป็นเครื่องเจริญสติในการสร้างคุณงามความดีทั้งหลายและเพื่อฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
ทั้งนี้เบื้องหลังในการจัดสร้างผลงานประติมากรรม นารายณ์ทรงสุบรรณอนันตนาคราช ในครั้งนี้ เป็นความปรารถนาเพื่อเป็นเครื่องเจริญสติ ในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันของคนในชาติ หากทุกฝ่ายต่างทำหน้าที่ โดยยึดถือเอาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้งแล้ว แนวคิดของผลงานประติมากรรมในครั้งนี้ก็ย่อมจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งและจะเป็นส่วนหนึ่งในการนำพาประเทศไทยของเราไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในโลกยุคใหม่
พระพุทธมหาจักรพรรดิอมรรัตนศรีสุวรรณภูมิ
พระพุทธมหาจักรพรรดิอมรรัตนศรีสุวรรณภูมิ
พระพุทธมหาจักรพรรดิอมรรัตนศรีสุวรรณภูมิ ผู้ทรงระงับเหตุเภทภัยและนำพาสมบัติจักรพรรดิมาสู่ชีวิต
จากตำนานเกี่ยวกับท้าวมหาชมพูบดีสูตร ในสุตตันตปิฎก กล่าวไว้ว่าท้าวมหาชมพูบดีเป็นกษัตริย์พระองค์หนึ่งแห่งนครปัญจาลราชและมีของวิเศษคู่กายคือฉลองพระบาทประดับอัญมณีเมื่อสวมใส่แล้วจะเหาะได้ มีพระขรรค์วิเศษและศรวิเศษ ด้วยบุญญาธิการของพระองค์จึงมีกษัตริย์ถึงร้อยเอ็ดหัวเมืองมายอมสวามิภักดิ์เป็นเมืองขึ้น วันหนึ่งท้าวมหาชมพูบดีได้เสด็จเหาะผ่านไปเห็นปราสาทพระเจ้าพิมพิสารที่มีความงดงาม เกิดไม่พอพระทัยจึงคิดจะทําลาย แต่ก็ไม่สามารถทำลายปราสาทนั้นได้ จึงส่งของวิเศษทั้งสองมาเพื่อหมายจะทำร้ายพระเจ้าพิมพิสาร จนพระเจ้าพิมพิสารต้องหนีไปขอพึ่งพระบารมีของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าท้าวมหาชมพูบดีสามารถบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้จึงให้พระอินทร์ไปเชิญท้าวมหาชมพูบดีมาเฝ้า ซึ่งต้องใช้กําลังบังคับจนท้าวมหาชมพูบดียอมเดินทางมา พระพุทธเจ้าได้เนรมิตเมืองให้มีความวิจิตรงดงามตระการตา เมื่อท้าวมหาชมพูบดีเสด็จมาถึง พระพุทธเจ้าก็ให้มาฆสามเณรไปเชิญท้าวมหาชมพูบดีเสด็จพระราชดําเนินเข้าเมืองด้วยเท้า ซึ่งมาฆสามเณรก็ใช้อิทธิฤทธิ์ทําให้ท้าวมหาชมพูบดีต้องลงจากหลังช้างและเดินเท้าเข้าเมืองมา จึงเห็นว่าเมืองของพระพุทธเจ้านั้นยิ่งใหญ่งดงามอลังการกว่าเมืองของตน และเมื่อได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ซึ่งขณะนั้นทรงเนรมิตพระองค์ด้วยภูษาอาภรณ์ทรงเครื่องใหญ่ในแบบพระมหาจักรพรรดิราชที่ยิ่งใหญ่อลังการเหนือกว่ากษัตริย์ใดๆที่ท้าวมหาชมพูบดีได้เคยพบเห็นมา เมื่อท้าวมหาชมพูบดีเห็นดังนั้นจึงเกิดความเลื่อมใสและลดทิฐิมานะของตนลงได้ จากนั้นพระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงธรรมโปรดท้าวมหาชมพูบดีพร้อมกับกษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดหัวเมืองที่ติดตามมาทุกคนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงได้ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุและบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
อีกตำนานพุทธประวัติอันเกี่ยวกับปางห้ามสมุทรนั้นมีที่มาจากในครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนายังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ของพระเจ้าพิมพิสาร ทรงขอประทับแรมอยู่ในสำนักของอุรุเวลกัสสปะ ผู้เป็นหัวหน้าชฎิล (ฤษี ผู้บูชาไฟ) ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนในแคว้นมคธ พระองค์ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นานัปการเพื่อทรมาน ฤษีอุรุเวลกัสสปะให้คลายความพยศลง ในครั้งที่น้ำท่วม พระองค์ทรงทำปาฏิหาริย์ห้ามน้ำที่ไหลบ่ามาจากทุกสารทิศมิให้เข้ามาในที่ประทับ และเสด็จจงกรมภายในวงล้อมที่มีน้ำเป็นกำแพง พวกเหล่าชฎิลพายเรือมาดู เห็นเป็นอัศจรรย์ จึงยอมรับในอานุภาพของพระพุทธองค์ จึงได้ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ
จากตำนานความเชื่อและความศรัทธาสู่การรังสรรค์ผลงานประติมากรรมอันล้ำค่าด้วยพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่อย่างมหาจักรพรรดิอยู่ในอริยาบทหงายพระหัตถ์ทั้งสองตั้งขึ้นเสมอกับพระอุระ ตามตำราพระพุทธรูปไทยสมัยรัตนโกสินทร์ใช้เรียกปางห้ามสมุทร ประดับเครื่องทรงอันประกอบด้วย มหามงกุฎทรงสูง กรรเจียกจร กระหนกเหน็บ กรองศอ พาหุรัด ทับทรวง ทองพระกร พระธำมรงค์สวมทุกพระองคุลี กงจักร สังฆาฏิ สังวาล ผ้าคาดเอว สายรัดพระองค์ ปั้นเหน่ง สุวรรณกระถอบ ชายไหว ชายแครง ทองพระบาท ฉลองพระบาทเชิงงอน พระภูษาที่มีลวดลายงดงามอลังการวิจิตรบรรจง ศิลปะรัตนโกสินทร์แบบร่วมสมัยที่มีความอลังการเป็นที่สุด
ด้วยมูลเหตุดังกล่าวนี้ Artmulet นำโดย อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนินงาน และ ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สังคมและการเมือง ที่ปรึกษาโครงการ และคณะกรรม การวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง จึงมีมติเห็นตรงกันว่า สมควรให้มีการจัดสร้าง “พระพุทธมหาจักรพรรดิอมรรัตนศรีสุวรรณภูมิ” ขึ้นมาเพื่อระงับเหตุเภพภัยทั้งหลายและนำพาความเป็นสิริมงคลสู่สมบัติจักรพรรดิแก่ผู้ที่จะนำพระพุทธปฏิมากรองค์นี้ไปสักการะบูชาโดยถวายพระนามตามชัยภูมิถิ่นกำเนิดว่า “พระพุทธมหาจักรพรรดิอมรรัตนศรีสุวรรณภูมิ” นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากจิตรกรเอกชื่อดัง อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว และอ.สุชาติ แซ่จิว บรมครูด้านประติมากรชื่อดัง เป็นผู้รังสรรค์ปั้นแต่งพระพุทธปฏิมากรองค์ต้นแบบนี้ ด้วยความประณีต วิจิตรบรรจง งดงาม ตระการตาและอลังการเป็นที่สุด ทั้งนี้เพื่อมอบไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าแด่ผู้มีจิตศรัทธาในการร่วมจัดสร้างที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรมและศาลาอเนกประสงค์ ณ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
ดังนั้น “พระพุทธมหาจักรพรรดิอมรรัตนศรีสุวรรณภูมิ” จึงถือได้ว่าเป็นพระพุทธปฏิมากรที่ทรงคุณค่าเป็นที่สุดในทุกๆ ด้าน สมควรอย่างยิ่งที่ต้องมีไว้เป็นพระประจำตัว ประจำบ้าน ประจำตระกูลเพื่อระงับเหตุเภพภัยและให้ผู้ที่สักการะบูชาเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตสู่สมบัติจักรพรรดิสมดังปารถนา เป็นมรดกสืบต่อไปยังลูกหลานในวันข้างหน้า และเพื่อมอบไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
ครุฑรุกสวรรค์
ครุฑรุกสวรรค์
ครุฑรุกสวรรค์ นำพาโถน้ำอมฤตสู่ชีวิตอมตะ
ตามคติโบราณว่าไว้ ผู้ใดอยากได้อำนาจ วาสนา บารมี ทรัพย์สินเงินทองให้บูชาพญาครุฑ เนื่องจากพญาครุฑนั้นเป็นตัวแทนแห่งความดี ความซื่อสัตย์ กตัญญูรู้คุณ เปี่ยมด้วยคุณธรรม และเป็นผู้ทรงพลังอำนาจเหนือกว่าผู้ใดอีกทั้งยังเป็นพาหนะของพระนารายณ์ และได้รับพรให้เป็นอมตะไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งวัชระหรือสายฟ้าของพระอินทร์ จะทำได้ก็เพียงแต่ทำให้ขนปีกของครุฑหลุดร่วงลงเพียงเส้นเดียวเท่านั้น ครุฑมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" อันหมายถึง "ผู้มีปีกอันวิเศษงดงามทรงพลัง" ครุฑเป็นสัตว์ใหญ่ อาศัยอยู่ ณ วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง บินได้รวดเร็ว มีสติปัญญาแหลมคม อ่อนน้อมถ่อมตน ในมหากาพย์อย่างมหาภารตะนั้นเล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคแต่ต่อมาภายหลังเกิดทะเลาะกันเลยกลายเป็นศัตรูกัน โดยครุฑและนาคนั้น เป็นบุตรของพระกัศยปมุนีเทพบิดร มารดาของครุฑนั้นคือนางวินตา ส่วนมารดาของนาคคือนางกัทรุ ในกาลต่อมา นางกัทรุและนางวินตาได้พนันกันถึงสีของม้าอุไฉศรพ ที่เกิดขึ้นในคราวกวนเกษียรสมุทรซึ่งเป็นสมบัติของ พระอินทร์ โดยพนันกันว่าหากใครแพ้ต้องตกเป็นทาสของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเวลาห้าร้อยปี นางวินตาทายว่าม้าสีขาวส่วนนางกัทรุทายว่าม้าสีดำ ความจริงม้านั้นเป็นสีขาวดังที่นางวินตาทาย แต่นางกัทรุใช้อุบายให้นาคพ่นพิษใส่ม้าจนเป็นสีดำ นางวินตาไม่ทราบในกลอุบายเลยต้องยอมแพ้และตกเป็นทาสของนางกัทรุเป็นเวลาถึงห้าร้อยปี ต่อมาภายหลังเมื่อครุฑได้ทราบสาเหตุที่มารดาของตนต้องตกเป็นทาสจึงคิดที่จะหาทางช่วยเหลือมารดา นางกัทรุจึงได้ให้ครุฑไปเอาน้ำอมฤตมาให้แก่พวกนาคเสียก่อนจึงจะให้นางวินตาเป็นไท ครุฑจึงได้บินขึ้นไปยังสวรรค์เพื่อเอาน้ำอมฤตจึงเกิดการต่อสู้กันระหว่างพระอินทร์และเหล่าทวยเทพเทวาทั้งหลายที่ติดตามมาฝ่ายเทวดานั้นไม่สามารถเอาชนะได้ พระอินทร์จึงได้ใช้วัชระซึ่งเป็นอาวุธที่พระอิศวรประทานให้โจมตีครุฑแต่ก็ไม่สามารถทำอะไรครุฑได้แม้แต่น้อย ฝ่ายครุฑได้สลัดขนของตนให้หล่นลงเพียงเส้นหนึ่งเพื่อแสดงความเคารพต่อวัชระและรักษาเกียรติของพระอินทร์ผู้เป็นหัวหน้าของเหล่าเทพ เมื่อพระนารายณ์ทรงทราบเหตุก็ได้ออกมาขวางครุฑไว้และได้สู้รบกันต่างฝ่ายต่างไม่อาจเอาชนะกันได้ ทั้งสองจึงทำข้อตกลงยุติศึกต่อกัน โดยพระนารายณ์ได้มอบน้ำอมฤตให้ด้วยเหตุที่ครุฑมีความกตัญญูต่อมารดาและประทานพรแก่ครุฑให้เป็นอมตะและยังให้ครุฑอยู่สูงกว่าเมื่อพระองค์ทรงประทับบัลลังก์ ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าจะขอเป็นพาหนะแห่งพระนารายณ์ตลอดไป
น้ำอมฤตนั้นมีคุณวิเศษเป็นอย่างยิ่งจะเกิดขึ้นจากการกวนเกษียรสมุทร โดยมีพระวิษณุเทพเสด็จมาเป็นองค์ประธานในการทำการเคลื่อนย้ายภูเขามันทระ ซึ่งเป็นภูเขาที่เป็นแหล่งกำเนิดมณีนพรัตน์ แต่เนื่องจากเทวดาฝ่ายเดียวไม่สามารถกวนเกษียรสมุทรให้สำเร็จได้จึงต้องชักชวนเหล่าอสูรมาร่วมมือกัน ต้องทำให้ทะเลน้ำนมกระเพื่อมจึงจะเกิดเป็นน้ำอมฤตและต้องใช้ลำตัวพญานาควาสุกรีมาพันรอบภูเขามันทระ จากนั้นต่างฝ่ายต่างดึงให้ภูเขาสั่นไหวจนทะเลน้ำนมกระเพื่อม ซึ่งต้องใช้เวลานานนับพันปีกว่าจะได้น้ำอมฤต ระหว่างนั้นภูเขามันทระถูกปั่นจวนจะทะลุพื้นโลกร้อนถึงพระนารายณ์ต้องอวตารเป็นเต่าเอากระดองมารองรับภูเขาไว้ไม่ให้โลกแตก ดังนั้นน้ำอมฤตจึงมีคุณวิเศษอย่างยิ่งเมื่อผู้ใดได้ดื่มแล้วจะเป็นอมตะมีพละกำลังมหาศาล
ครุฑรุกสวรรค์ จากตำนานความเชื่อสู่งานจิตรกรรมและประติมากรรมอันทรงคุณค่าแห่งพญาครุฑผู้ทรงพลังอำนาจ หนุนดวงชะตา เสริมบารมี กลับร้ายกลายเป็นดี นำพาผู้ศรัทธาสู่ความมั่งคั่ง รุ่งเรือง “ครุฑรุกสวรรค์” เป็นผลงานประติมากรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านพญาครุฑในลักษณะกึ่งคนกึ่งเทพคือมีลำตัวเป็นคนมีหัวและขาเป็นนกตามแบบสากลนิยม ลักษณะกระพือปีกอันทรงพลังสามารถเกิดเป็นพายุหมุนหอบเอาโถน้ำอมฤตอันมีคุณวิเศษขึ้นมา ข้างโถน้ำอมฤตยังมีขนปีกของครุฑที่สลัดไว้อยู่เส้นหนึ่งแสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้ให้เกียรติแก่ผู้สมควรได้รับเกียรติเนื่องด้วยพระอินทร์นั่นคือผู้ทำหน้าที่ปกป้องสวรรค์ โดยผลงานดังกล่าวสืบเนื่องจากแนวคิดจาก อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนินงานแห่ง Artmulet และ ดร.ทรงพล เขมะบูลกุล ที่ปรึกษาโครงการ ผ่านจิตรกรเอกอย่าง อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว และประติมากรดังอย่าง อ.สุชาติ แซ่จิว โดยศิลปินทั้งสองท่านสามารถรังสรรค์ปั้นแต่งผลงาน “ครุฑรุกสวรรค์” ในครั้งนี้ ได้งดงามอย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งเส้นสายที่พลิ้วไหวต่อเนื่องทรงพลังอำนาจและลงตัวอย่างที่สุดเหมาะอย่างยิ่งสำหรับมีไว้เป็นเครื่องเจริญสติเป็นมรดกสืบทอดไปยังลูกหลานในภายหน้าและเป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
พระพิชัยสงครามสุวรรณภูมิ
พระพิชัยสงครามสุวรรณภูมิ
พระพิชัยสงครามสุวรรณภูมิ หนุนดวงชะตา เสริมวาสนาบารมี ขึ้นสู่จุดสูงสุดของชีวิต
พระพิชัยสงคราม
ตำราพิชัยสงคราม เป็นตำราที่ว่าด้วยยุทธศาสตร์และยุทธวิธีต่างๆ เพื่อเอาชนะข้าศึกศัตรูในยามสงคราม ซึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อมาในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้มีการชำระขึ้นใหม่เป็นตำรับ “พิชัยสงครามฝ่ายทัพ” อีกทั้งยังมีตำรับ “พิชัยสงครามฝ่ายโหร” ซึ่งเป็นตำราที่รวบรวมความรู้ด้านโหราศาสตร์ พุทธาคมที่ค้นพบกันในสมัยหลัง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ตำราพิชัยสงคราม จัดได้ว่าเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่สำคัญทางวัฒนธรรมของชาติ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้จะหาผู้รู้ที่จะสามารถอธิบายถึงองค์ความรู้ดังกล่าวได้ยากเต็มทีก็ตาม ส่วนมูลเหตุของการสร้าง “พระพิชัยสงคราม” นั้น มาจากตำรับพระพิชัยสงครามฝ่ายโหร ซึ่งได้กล่าวถึงการสร้างและบูชาดวงพระชันษาขององค์พระมหากษัตริย์ในอดีต โดยจะจัดทำเป็นแผ่นทองดวง 2 ดวง โดยดวงหนึ่งบรรจุใน “ยันต์พิชัยสงคราม” แบบเพชรพยุหะล้อมรอบด้วยอักขระ 3 ชั้น เป็นพระมหาประเจียดใหญ่ ซึ่งต้องสักการะบูชาด้วยเครื่องบูชามงคลอยู่เสมอ และเมื่อเวลาที่พระองค์จะทรงเสด็จออกศึกสงครามหรือเมื่อเวลาที่พระองค์จะทรงเสด็จไปที่ใด เมื่อนำดวงพระชันษานั้นไปด้วย เชื่อว่าจะทำให้พระองค์ทรงมีตบะ เดชะ บารมีคุ้มครองป้องกันภัยได้นานับประการ ในส่วนอีกดวงหนึ่งนั้น บรรจุดวงชะตาแบบจักรราศีล้อมรอบด้วยอักขระ 3 ชั้น แล้วนำไปบรรจุในไม้ง่าม เพื่อค้ำพระศรีมหาโพธิ์ อันมีนัยยะประดุจดังถูกข้าศึกล้อมไว้ถึง 3 ชั้น แต่ก็จะ “กลับร้ายให้กลายเป็นดี” นอกจากนี้ยันต์พิชัยสงครามยังเป็นยันต์ที่เคยใช้ในการบรรจุดวงชะตาพระนคร เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล มั่นคงถาวรแก่บ้านเมือง อีกทั้งการลงดวงพระชันษาของพระมหากษัตริย์ในอดีตนั้นก็เพื่อให้พระองค์ทรงมีพระชนม์พรรษายิ่งยืนนาน โดยสรุปแล้วการลงดวงชะตาตามตำรับพระพิชัยสงครามแต่เดิมนั้นเป็นการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวข้องกับราชการสงคราม ชะตาบ้านเมือง และองค์พระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ ต่อมาในภายหลังได้มีโหราจารย์ ได้นำพิธีกรรมการบรรจุดวงชะตาในยันต์พิชัยสงครามมาประกอบพิธีดังกล่าวให้กับเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จนถึงคหบดีและประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่มียันต์พิชัยสงครามบูชาประสบแต่ความสุขความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
ต่อมาจึงได้มีการสร้างพระพิชัยสงครามขึ้น เป็นพระพุทธรูปยืนปาง “ห้ามสมุท” ซึ่งมีนัยยะถึง “สมุทัย” อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ และเมื่อห้ามสมุทแล้ว ทุกข์ทั้งหลายจึงหมดสิ้นไป โดยคติเดิมการสร้างพระพิชัยสงครามนั้น จะใช้ไม้ศรีมหาโพธิ์นิพพานคือ กิ่งตายที่หักตกลงมาเอง นำมาแกะเป็นองค์พระ ให้มีขนาดความสูงจากพระบาทไปถึงพระเมาลีประมาณ 11-13 นิ้วหัวแม่มือของผู้สร้าง และให้มีเดือยใต้ฐานพระบาทสำหรับยึดแผ่นรองพระบาทด้วยไม้ไผ่สีสุก เปลวรัศมีใช้ไม้ชุมแสง แผ่นรองพระบาทใช้ไม้นนทรี ส่วนแท่นรองพระบาทใช้ไม้ขนุนแกะ คว้านใต้ฐานให้กลวงเพื่อใช้สำหรับบรรจุดวงพระพิชัยสงคราม ซึ่งต้องพับเป็นรูปดอกบัว พร้อมทั้งบรรจุสิ่งของมงคล เครื่องยา ตามตำรับการสร้างพระพิชัยสงคราม
อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ปรมาจารย์ด้านไสยเวทย์ พุทธาคมและโหราศาสตร์ จัดได้ว่าเป็นผู้ที่เผยแพร่การสร้างพระพิชัยสงครามที่มีความสำคัญท่านหนึ่ง ได้อธิบายถึงการสร้างพระพิชัยสงครามว่า การสร้างพระบรรจุดวงชะตานั้น องค์พระเปรียบประดุจเป็นตัวรถยนต์ การบรรจุดวงชะตาเปรียบเสมือนเครื่องยนต์ มีแรงศรัทธาเปรียบเสมือนน้ำมัน หากตัวรถยนต์ไม่มีเครื่องก็ไม่สามารถแล่นไปได้ แต่ถึงมีเครื่องแต่ถ้าไม่มีน้ำมันซึ่งก็คือแรงศรัทธาแล้วไซร้ รถก็ไม่สามารถแล่นไปได้เช่นกัน แต่หากมีครบองค์ประกอบดังกล่าว รถยนต์ย่อมแล่นถึงที่หมายโดยบรรลุผลดังที่หวังได้สำเร็จ การสร้างพระบรรจุดวงชะตานี้ ได้มีการกระทำกันมาแล้วหลายสำนักด้วยกัน เช่น วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (มา) วัดกลางบางแก้ว โดยท่านเจ้าคุณพระพุทธวิถีนายก หลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) ซึ่งกระทำตามตำราของท่านพระเทวโลกโหรหลวงคนสำคัญ
ด้วยความสำคัญดังกล่าวนี้ Artmulet โดยอ.ธนทัศน์ ทองเนียม ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารงานพุทธเทวศิลป์ และดร.ทรงพล เขมะบุลกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สังคมและการเมือง ที่ปรึกษาโครงการ และคณะกรรมการวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง จึงมีมติเห็นตรงกันว่า สมควรให้มีการจัดสร้าง “พระพิชัยสงคราม” ขึ้นมาเพื่อหนุนดวงชะตาชีวิตให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่จะนำพระพิชัยสงครามไปสักการะบูชาโดยถวายพระนามตามชัยภูมิถิ่นกำเนิดว่า “พระพิชัยสงครามสุวรรณภูมิ” นอกจาก Artmulet จะเล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดสร้างพระพิชัยสงครามแล้ว โดยที่ผ่านมาผลงานของ Artmulet ได้เน้นให้ความสำคัญกับงานศิลป์ชั้นสูงมาโดยตลอด จึงได้มีการประยุกต์การสร้างพระพิชัยสงครามจากองค์พระที่ต้องสร้างด้วยไม้พระศรีมหาโพธิ์นิพพานไปสู่โลหะสัมฤทธิ์ที่ทรงคุณค่าและมีความศักด์สิทธิ์อยู่ในตัว นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากจิตรกรเอกชื่อดัง อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว และอ.สุชาติ แซ่จิว บรมครูด้านประติมากรชื่อดัง เป็นผู้รังสรรค์ปั้นแต่งพระพุทธปฏิมากรองค์ต้นแบบนี้ ด้วยความประณีต วิจิตรบรรจง งดงาม ตระการตาและอลังการเป็นที่สุด โดยมีพุทธลักษณะในแบบพระพุทธรูปยืน ปางห้ามสมุท (ห้ามทุกข์) ทรงเครื่องใหญ่ในแบบพระเจ้าจักรพรรดิ ศิลปะอยุธยาตอนปลาย ยุคราชวงศ์บ้านพลูหลวง เพื่อให้ “พระพิชัยสงครามสุวรรณภูมิ” มีความงดงามอลังการเป็นที่สุด โดยภายในฐานขององค์พระพุทธรูปนั้นจะทำการบรรจุ “ดวงพิชัยสงคราม” ที่ลงดวงมาอุจจ์ อีกทั้งยังต้องประกอบไปด้วยพิธีกรรมทางโหราศาสตร์ พุทธาคม รวมทั้งอักขระเลขยันต์ ฤกษ์ยามโดยได้มีการประยุกต์รูปแบบการบรรจุดวง ซึ่งแต่เดิมจะบรรจุดวงชะตาของผู้ที่จะนำไปสักการะบูชา เป็นการบรรจุดวงมหาอุจจ์ในยันต์พระพิชัยสงครามแทน ซึ่งจะสะดวกต่อหลายท่านที่ต้องการนำพระพิชัยสงครามสุวรรณภูมิไปบูชา แต่ตนเองไม่ทราบเวลาเกิดที่แน่ชัด ดวงมหาอุจจ์นี้ทางโหราศาสตร์ว่าไว้เมื่อผู้ใดมีดวงมหาอุจจ์ในดวงชะตาของตนเองแล้วไซร้ ผู้นั้นจะได้ขึ้นเป็นใหญ่สู่จุดสูงสุดของชีวิตในทุกๆ ด้าน ทั้งนี้เพื่อมอบไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าแด่ผู้มีจิตศรัทธาในการร่วมจัดสร้างที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรมและศาลาอเนกประสงค์ ณ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
ดังนั้น “พระพิชัยสงครามสุวรรณภูมิ” จึงถือได้ว่าเป็นพระพุทธปฏิมากรที่ทรงคุณค่าเป็นที่สุดในทุกๆด้าน สมควรอย่างยิ่งที่ต้องมีไว้เป็นพระประจำตัว ประจำบ้าน ประจำตระกูลเพื่อให้ผู้ที่สักการะบูชาขึ้นสู่จุดสูงสุดของชีวิต เป็นมรดกสืบต่อไปยังลูกหลานในวันข้างหน้า และเพื่อมอบไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
นารายณ์พลิกแผ่นดิน
นารายณ์พลิกแผ่นดิน
นารายณ์พลิกแผ่นดิน พลิกชีวิต พลิกชะตา สู่อำนาจ วาสนา บารมี
พระนารายณ์นั้นถือเป็นองค์เทพสูงสุดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไวษณพนิกายถือเป็นผู้ที่มีฤทธิ์เดชมีอำนาจมีความเก่งกล้าสามารถเป็นอย่างมากสามารถอวตารหรือแปลงร่างเป็นอะไรก็ได้ตามแต่วาระที่ต้องการ ส่วนในทางพุทธนั้น คำว่า “นารายณ์พลิกแผ่นดิน” ถือเป็นวิชาที่ใช้ลงอักขระเลขยันต์เช่นยันต์นารายณ์พลิกแผ่นดิน สวดท่องเป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ คะ พุท ปัน ทู ทัม วะคะ ใช้พลิกชีวิต พลิกชะตา จากร้ายกลายเป็นดี ตามแต่ใจปรารถนามาแต่ครั้งโบราณ ดังนั้นที่มาของพระนาม “นารายณ์พลิกแผ่นดิน” ในทางพุทธนั้นจึงถือว่ายิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ ส่วนในพราหมณ์-ฮินดูนั้นต้องขอกล่าวถึงตอนนารายณ์อวตารเป็น วราหะ เป็นมนุษย์ที่มีศีรษะเป็นหมูป่าเพื่อสังหารหิรันตยักษ์ที่ม้วนเอาแผ่นดินไป หิรันตยักษ์เป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์เดชมากทั้งยังข่มเหงเหล่ามนุษย์โลกมากมาย พระนารายณ์จึงอวตารเป็นวราหะครึ่งคนครึ่งหมูป่าไล่ขวดหิรันตยักษ์แล้วสังหารด้วยการฟาดด้วยกระบอง ส่วนมหากาพย์รามเกียรติ์ หิรันตยักษ์คือพญายักษ์ที่บำเพ็ญเพียรด้วยการ บูชาพระอิศวร ผู้สถิต ณ เขาไกรลาส จนได้รับพรให้มีฤทธิ์เดชมากมายทั้งมนุษย์และเทวดาใครฆ่าก็จะไม่ตายสามารถม้วนแผ่นดินได้ ด้วยความกำเริบและคิดว่าตนนั้นมีฤทธิ์มากไม่มีผู้ใดทัดเทียม แม้แต่ฤาษี นักพรต เทวดา ต่างก็พากันเกรงกลัวต่อหิรันตยักษ์ เพื่อแสดงฤทธิ์เดชให้ทั้งสามโลกได้รับรู้หิรันตยักษ์จึงทำการม้วนแผ่นดินแล้วหนีบไว้กับตัวลงไปยังเมืองบาดาลเพื่อให้มนุษย์และเทวดาทั้งหลายเดือดร้อนกันไปทั่ว ร้อนถึงพระนารายณ์ต้องเสด็จลงไปยังเมืองบาดาล เห็นหิรันตยักษ์ม้วนแผ่นดินหนีบไว้ ก็แปลงร่างเป็นพญาหมูป่าเข้าไล่ขวิดต่อสู้กับหิรันตยักษ์ ในที่สุดพญาหมูป่าก็ไล่ขวิดหิรันตยักษ์ด้วยเขี้ยวเพชรจนตัวขาดหัวขาดสิ้นใจตายลงทันที แล้วพญาหมูป่าหรือพระนารายณ์อวตารก็พลิกเอาผืนแผ่นดินคืนสู่ความสุขสงบร่มเย็นแก่มนุษย์และเทวดาดังเดิม
จากตำนานเรื่องราวแห่งความเชื่อความศรัทธาขององค์พระนารายณ์ผู้เป็นใหญ่ด้วยฤทธิ์เดชและอำนาจเหนือกว่าผู้ใดในสามโลกสู่ผลงานประติมากรรมอันทรงคุณค่าที่มีศิลปะอันงดงามสุดอลังการ ด้วยพระนามอันยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ “นารายณ์พลิกแผ่นดิน” ด้วยการรังสรรค์ผลงานด้านจิตรกรรมและประติมากรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราวแห่งองค์นารายณ์มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ในจักรวาลด้วยรูปแบบศิลปะไทยลักษณะทรงเครื่องเต็มยศมีพระพักตร์ที่สงบนิ่งแต่แฝงไปด้วยพลังแห่งฤทธิ์เดชและอำนาจแต่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา พระหัตถ์ซ้ายบนทรงสังข์สัญลักษณ์ของการมีชื่อเสียงคุณธรรมความดีปรากฏไปทั้งสามโลก พระหัตถ์ขวาบนทรงจักรสัญลักษณ์แห่งการเคลื่อนไปข้างหน้าขจัดปัญหาอุปสรรคทั้งปวง พระหัตถ์ขวาล่างทรงกระบองสัญลักษณ์ของการทำลายสิ่งเลวร้ายทั้งหลาย พระหัตถ์ขวาล่างทรงศรนารายณ์สัญลักษณ์แห่งการพุ่งตรงไปยังเป้าหมายสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ส่วนบริเวณฐานเป็นฐานทรงกลมบัวคว่ำบัวหงาย ฐานชั้นล่างเป็นลวดลายน้ำ ด้านหน้ามีสัญลักษณ์ของหมูป่าเขี้ยวโง้งยาวอันเป็นที่มาของปางวราหะ “นารายณ์พลิกแผ่นดิน” ดังนั้นผลงานประติมากรรมแห่งศรัทธาครั้งนี้ จึงเป็นผลงานอันเกิดขึ้นจากการประยุกต์เรื่องราวแห่งศรัทธาอันจะนำมาเป็นเครื่องเจริญสติแก่ผู้ที่ได้มีไว้ในครอบครองและเพื่อเป็นสมบัติของวงศ์ตระกูลสืบต่อไป โดยผลงานดังกล่าวนี้เป็นเรื่องราวอันมีความต่อเนื่องจากผลงาน “นารายณ์แปลงรูป” มหาเทพองค์สูงสุดตามลัทธิไวษณพนิกายที่ทาง ARTMULET นั้นได้เคยจัดสร้างไว้แล้ว จากแนวคิดของ อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนินงานแห่ง ARTMULET และ ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล ที่ปรึกษาโครงการ ผ่านจิตรกรเอก อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว และประติมากร อ.สุชาติ แซ่จิว สองศิลปินผู้รังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ได้อย่างงดงามสุดอลังการน่าอัศจรรย์ทั้งรายละเอียดที่ดูอ่อนช้อยงดงามพริ้วไหวแต่ทรงพลังอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่เกินคำบรรยาย ทั้งหมดนี้เพื่อมอบไว้แด่ผู้ที่มีจิตศรัทธาในการร่วมสร้างที่พักและสถานปฏิบัติธรรม วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทองและฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
มหาเทวีศรีอุมาคเณศวรราชสีห์
มหาเทวีศรีอุมาคเณศวรราชสีห์
มหาเทวีศรีอุมาคเณศวรราชสีห์ ผู้ประทานอำนาจแห่งเมตตาบารมี สยบอำนาจทั้งหลายในจักรวาล
พระอิศวรหรือพระศิวะนั้นทรงมีพระแม่อุมามหาเทวีเป็นอัครมเหสีคู่บารมีที่มีความงดงามยิ่งนักและมีบุตรด้วยกันสองพระองค์คือขันทกุมารผู้เป็นพี่และพิฆเนศผู้เป็นน้องซึ่งทั้งสองพี่น้องนั้นถือเป็นผู้ที่มีฤทธิ์เดชเป็นอย่างมากโดยเฉพาะองค์พิฆเนศนั้นถือว่าเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเป็นเลิศได้รับการยกย่องให้เป็นเทพแห่งความสำเร็จ ส่วนขันทกุมารนั้นถือเป็นเทพแห่งชัยชนะในการสู้รบ พระแม่อุมามหาเทวีนั้นเป็นพระมารดาผู้เป็นใหญ่และได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งความรักของชาวฮินดู ว่ากันว่าหากใครหมั่นบูชาพระองค์อย่างสม่ำเสมอ พระแม่อุมามหาเทวีก็จะทรงประทานยศถาบรรดาศักดิ์และความเป็นใหญ่ให้แก่ผู้นั้น ท่านจึงได้รับความเคารพและความศรัทธาจากผู้คนทั้งหลายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการขึ้นสู่อำนาจ วาสนา บารมี มีความรักและครอบครัวที่สมบูรณ์ พระองค์จะทรงประทานชัยชนะเหนือศัตรู ทำลายสิ่งชั่วร้าย ตลอดจนประทานบริวารและอำนาจในการปกครอง รวมไปถึงความสุขสมบูรณ์ในการครองเรือน ประทานบุตรที่เป็นคนดีเฉลียวฉลาดและเพียบพร้อมด้วยวาสนาบารมี ทรงคุ้มครองหญิงตั้งครรภ์ให้คลอดง่าย ตลอดจนแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง ดังนั้นผู้มีจิตศรัทธาจึงพากันสักการะบูชาและขอพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความรักและการขอบุตร สรุปความได้ว่าเมื่อผู้ใดเป็นผู้กระทำความดีและมีจิตศรัทธาอย่างมุ่งมั่นต่อองค์พระอิศวรและพระแม่อุมามหาเทวีแล้วไม่ว่าจะขอพรในเรื่องใดก็จะสำเร็จได้สมดังใจปรารถนาตามกำลังบุญและศรัทธาที่ได้สั่งสมไว้อย่างแน่นอน จากเรื่องราวแห่งความเชื่อความศรัทธาของอัครมเหสีแห่งมหาเทพผู้เป็นใหญ่ในสามโลก ผู้อยู่เหนือกาลเวลาผู้สถิต ณ เขาไกรลาสแกนกลางของจักรวาลสู่ผลงานประติมากรรมอันทรงคุณค่าที่มีศิลปะอันงดงามสุดอลังกาล พระนาม “มหาเทวีศรีอุมาคเณศวรราชสีห์”
มหาเทวีศรีอุมาคเณศวรราชสีห์ ถือเป็นตัวแทนแห่งผู้ที่อยู่เหนือเจ้าผู้ปกครองทั้งหลายสมบูรณ์ด้วยอำนาจเหนืออำนาจทั้งปวงด้วยมหาบารมีแห่งความรักความอบอุ่นและพระเมตตาที่แผ่ไปทั่วทั้งจักรวาลเหนือกาลเวลา เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม ความดี มีพระเมตตาต่อทุกสรรพชีวิต เป็นต้นแบบแห่งผู้ที่อยู่เหนือเจ้าผู้ปกครองทั้งหลาย และยังทรงเป็นผู้ทำลายล้างสิ่งเลวร้ายทั้งหลายที่มีอยู่สู่ความสุขสมบูรณ์ต่อผู้ที่มีจิตศรัทธาอย่างแท้จริง
จากตำนานแห่งความศรัทธาสู่การรังสรรค์ผลงานด้านจิตรกรรมและประติมากรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราวแห่งพระอัครมเหสีขององค์อิศวรมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ผู้อยู่เหนือกาลเวลาและสรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาล ในรูปแบบศิลปะไทย ที่มีพระพักตร์ยิ้มแย้มดูอิ่มเอิบและอบอุ่นด้วยความสุขจากภายในสู่ภายนอก มีพระพักตร์ที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาด้วยพระสิริโฉมอันงดงามอย่างยิ่ง พระหัตถ์ซ้ายทรงประคององค์พิฆเนศน้อยที่ดูน่ารักสมบูรณ์และเฉลียวฉลาดเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จทั้งปวง พระหัตถ์ขวาทรงประทานพรแก่ผู้ศรัทธา ทรงภูษาอาภรณ์ลายดอกพร้อมเครื่องทรงอิสริยยศแห่งอัครมเหสีขององค์มหาเทพผู้เป็นใหญ่ในสามโลก ทรงอิริยาบถที่งดงามอ่อนช้อยประทับเหนือหลังพญาราชสีห์ที่มีมัดกล้ามอันทรงพลังอำนาจดูดุดันน่าเกรงขามอันเป็นสัญลักษณ์แห่งผู้มีอำนาจอันยิ่งใหญ่ แต่พระองค์ยังคงทรงอิริยาบถที่งดงามอ่อนช้อย ส่วนองค์พิฆเนศน้อยนั้นพระหัตถ์ขวาบนทรงดอกบัวอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองด้วยคุณงามความดีทั้งปวง พระหัตถ์ซ้ายบนทรงขวานสัญลักษณ์แห่งการฟันฝ่าทำลายอุปสรรคทั้งหลายให้หมดสิ้นไป พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงขนมโมทกะสัญลักษณ์แห่งความสุขและความอุดมสมบูรณ์ พระหัตถ์ขวาล่างทรงประทานพรแห่งความสำเร็จทั้งหลายให้แก่ผู้ศรัทธาในพระองค์อย่างแท้จริง ส่วนพญาราชสีห์ที่มีมัดกล้ามอันทรงพลังนั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งผู้มีอำนาจบารมีอันยิ่งใหญ่ เป็นที่เกรงขามต่อศัตรูหมู่มารทั้งหลาย ดังนั้นผลงานประติมากรรมแห่งศรัทธา “มหาเทวีศรีอุมาคเณศวรราชสีห์” จึงเป็นผลงานอันเกิดขึ้นจากศรัทธาอันจะนำมาซึ่งความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่ผู้ที่ได้มีไว้ในครอบครองและเพื่อเป็นสมบัติของวงศ์ตระกูลสืบต่อไป โดยผลงานดังกล่าวนี้เป็นเรื่องราวอันมีความต่อเนื่องจากผลงาน อิศวรมหากาลไกรลาสบรรพต มหาเทพองค์สูงสุดตามลัทธิไศวนิกายที่ทาง ARTMULET นั้นได้เคยจัดสร้างไว้แล้ว จากแนวคิดของ อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนินงานแห่ง ARTMULET และ ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล ที่ปรึกษาโครงการ ผ่านจิตรกรเอก อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว และประติมากร อ.กฤษณะ นาพูนผล สองศิลปินที่สามารถรังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ได้อย่างงดงามสุดอลังการอย่างน่าอัศจรรย์ทั้งรายละเอียดที่ดูอ่อนช้อยงดงามพริ้วไหวแต่ทรงพลังอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่เกินคำบรรยาย และทั้งหมดนี้เพื่อฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของของคนไทยสืบไป
พระพุทธธรรมราชาอินทราทิตย์
พระพุทธธรรมราชาอินทราทิตย์
พระพุทธธรรมราชาอินทราทิตย์ เปิดโลก เปิดดวงชะตา พบทางสว่างสู่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล
“พระพุทธธรรมราชาอินทราทิตย์” เป็นพระพุทธรูปปางเปิดโลกอันมีที่มาจากพุทธประวัติเมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจำพรรษาเพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาจนครบพรรษาแล้วจึงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในครั้งนั้นพระองค์ทรงกระทำโลกวิวรณปาฏิหาริย์ คือ ทรงเปิดโลกทั้ง ๓ อันได้แก่ สวรรค์ มนุษย์ และบาดาลหรือยมโลก ได้มองเห็นกันทั้งหมดเพื่อร่วมกันอนุโมทนาบุญที่พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา แล้วจึงเสด็จลีลาลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่สังกัสสนคร ดังนั้นพระพุทธรูปองค์นี้จึงเป็นพระพุทธรูปปางเปิดโลกอันมีที่มาจากเรื่องราวตามพุทธประวัติอันเป็นมหามงคลประดุจดังเป็นการเปิดโลก เปิดดวงชะตาพบหนทางสว่างสู่ความเป็นมหามงคล
“พระพุทธธรรมราชาอินทราทิตย์” พระนามอันมีที่มาจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ต้นราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัยอันเป็นอาณาจักรเริ่มแรกของคนไทย ในยุคต้นแห่งอาณาจักรสุโขทัยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ นั้น พระพุทธรูปโดยส่วนใหญ่ยังคงยึดถือศิลปะขอมแบบบายน ตามคตินิยมที่ได้รับมาจากเขมร ถือได้ว่าพระพุทธรูปศิลปะขอมแบบบายนนั้นเป็นพระพุทธรูปที่มีความงดงามคลาสสิก ได้รับความนิยมและมีความรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในอดีตจวบจนปัจจุบันพระพุทธรูปศิลปะขอมแบบบายนยังเป็นที่ต้องการของบรรดานักสะสมพระพุทธรูปเก่าเป็นอย่างมาก องค์ที่มีความสมบูรณ์นั้นเป็นสิ่งที่หาดูได้ยากแล้ว ทางวัดขุนอินทประมูลจึงมีแนวคิดที่จะจัดสร้างพระพุทธรูปศิลปะขอมแบบบายนขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้วัดขุนอินทประมูลนั้นถือเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยจึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะจัดสร้าง “พระพุทธธรรมราชาอินทราทิตย์” ในแบบศิลปะขอมแบบบายนขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนของเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา คณะกรรมการวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ได้มอบหมายให้ อ.ธนทัศน์ ทองเนียม เป็นประธานดำเนินงาน มี ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล เป็นที่ปรึกษาในโครงการจัดสร้าง “พระพุทธธรรมราชาอินทราทิตย์” พระพุทธรูปปางเปิดโลกศิลปะขอมแบบบายนที่มีการประยุกต์เรื่องราวอันสื่อความหมายถึงการเปิดโลกเปิดดวงชะตานำพาหนทางสว่างแก่ผู้นำไปสักการะบูชา และต้องมีความงดงาม ประณีต วิจิตรบรรจง เพื่อมอบให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาในการร่วมสร้างที่พักสถานปฏิบัติธรรมและศาลาอเนกประสงค์ภายในวัดขุนอินทประมูล ไว้สำหรับเป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติและสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาเพื่อฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
“พระพุทธธรรมราชาอินทราทิตย์” เป็นพระพุทธรูปศิลปะขอมแบบบายน มีพระพักตร์เหลี่ยม พระเนตรเบิกโพลง ประทับยืนพระหัตถ์ปางเปิดโลก ครองจีวรห่มคลุม สวมเครื่องทรงอันได้แก่ มงกุฎซึ่งประกอบ ด้วยรัดเกล้ากรวยและกระบังหน้า กุณฑลแหลม กรองศอ พาหุรัด รัดประคดและถบหน้านาง ตกแต่งด้วยเครื่องประดับ มีฐานรองพระบาทอยู่เหนือกลีบบัวคว่ำ ตามแบบพระพุทธรูปศิลปะลพบุรีแบบนครวัด มีฐาน ๓ ชั้นเปรียบเปิดดังพระพุทธองค์ทรงเปิดโลกทั้ง ๓ ฐานมีลักษณะขั้นบันไดทั้ง ๔ ด้าน ตามแบบบันไดทางขึ้นนครวัด “พระพุทธธรรมราชาอินทราทิตย์” ถือเป็นสุดยอดแห่งความเป็นมหาสิริมงคลเพื่อเปิดโลก เปิดดวงชะตาสู่หนทางสว่างเมื่อได้มีไว้บูชาและยังถือเป็นพระประจำตระกูล เพื่อความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลและเป็นมรดกสืบทอดไปยังลูกหลานในภายหน้า
พระชัยพุทธมหานาถ
พระชัยพุทธมหานาถ
พระชัยพุทธมหานาถ เจริญด้วยอายุ วัณโณ สุขัง พลัง เจริญด้วยความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล งดงามอลังการด้วยศิลปะขอมบายน
”พระชัยพุทธมหานาถ” วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง อันเป็นงานประติมากรรมศิลปะบายนหรือเรียกว่าศิลปะขอมที่มีความต่อเนื่องมาจากงานพระพุทธรูปในชุด “มหาไตรภาคี” และพระพุทธลีลานฤมิตมิ่งมงคล อันประกอบไปด้วยพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง พระพุทธรูปสุโขทัยและพระพุทธรูปอู่ทอง ดังนั้นจึงขาดเสียไม่ได้ถึงพระพุทธรูปในแบบศิลปะขอมและในบรรดาพระพุทธรูปในแบบขอมนั้น “พระชัยพุทธมหานาถ” เป็นพระพุทธรูปนาคปรกที่มีพญานาค ๗ เศียรและมีความเชื่อกันว่าพญานาคนั้นเป็นผู้ดูแลรักษาและปกป้องนครวัดให้เจริญรุ่งเรือง ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับความนิยมและมีความรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ แห่งอาณาจักรขอมมีการระบุว่าทรงสร้างพระชัยพุทธมหานาถส่งไปตามหัวเมืองขึ้น ๒๓ หัวเมือง เพื่อสักการะบูชารวมทั้งเมืองละโวทยปุระหรือละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบันด้วย ปัจจุบันพระชัยพุทธมหานาถองค์ที่มีความสมบูรณ์นั้นเป็นสิ่งที่หาดูได้ยากแล้ว ทางวัดขุนอินทประมูลจึงมีแนวคิดที่จะจัดสร้าง “พระชัยพุทธมหานาถ” ขึ้นมาใหม่ทั้งนี้จังหวัดลพบุรีและจังหวัดอ่างทองเป็นพื้นที่ติดต่อกันมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจึงมีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งวัดขุนอินทประมูลนั้นถือเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะจัดสร้าง “พระชัยพุทธมหานาถ” ขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนของเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา คณะกรรมการวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ได้มอบหมายให้ อ.ธนทัศน์ ทองเนียม เป็นประธานดำเนินงาน มี ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล เป็นที่ปรึกษาในโครงการจัดสร้าง“พระชัยพุทธมหานาถ” พระพุทธรูปนาคปรกศิลปะขอมที่มีการประยุกต์เรื่องราวอันสื่อความหมายถึงอาณาจักรอันเป็นที่มาของพระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้ และต้องมีความงดงาม ประณีต วิจิตรบรรจง เพื่อมอบให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาในการร่วมสร้างที่พักสถานปฏิบัติธรรมและศาลาอเนกประสงค์ภายในวัดขุนอินทประมูล ไว้สำหรับเป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติและสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาเพื่อฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
พระชัยพุทธมหานาถ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะขอม มีความงดงามตรงตามพุทธลักษณะทุกประการ มีพระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรเบิกโพลง พระขนงเป็นรูปปีกกา สวมเครื่องทรงแบบเทวรูป อันได้แก่กระบังหน้า รัดเกล้า และกุณฑล พระวรกายครองจีวรและเครื่องทรง ประทับเหนือเมืองนครวัดอันเป็นต้นกำเนิด พระชัยพุทธมหานาถ จนมาถึงเมืองละโว้ เศียรนาคมี ๗ เศียร เศียรกลางใหญ่ที่สุด เศียรด้านข้างหันเข้าหาเศียรกลาง หางของพญานาคม้วนเข้าหากันพันรอบเมืองประดุจดังคอยระวังป้องกันรักษาทั้งอายุ วัณโณ สุขัง พลังและนำพาความรุ่งเรืองมาสู่ผู้สักการะบูชา พระชัยพุทธมหานาถ ถือเป็นสุดยอดแห่งความเป็นสิริมงคลเมื่อได้มีไว้บูชาและยังถือเป็นพระประจำตระกูล เพื่อความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลและเป็นมรดกสืบทอดไปยังลูกหลานในภายหน้า
พระพุทธลีลานฤมิตมิ่งมงคล
พระพุทธลีลานฤมิตมิ่งมงคล
พระพุทธลีลานฤมิตมิ่งมงคล ก้าวหน้ามหามงคลสู่ชีวิตนิรมิตความรุ่งเรืองสู่ตระกูล
ย้อนสู่อดีตราว 700 ปีล่วงมาแล้ว หลังจากที่พ่อขุนรามคำแหงสิ้นพระชนม์ พระยาเลอไทพระราชโอรสได้ทรงเสวยพระราชสมบัติปกครองแผ่นดินสุโขทัยเรื่อยมากระทั่งในปีพุทธศักราช 1843 ท่านจึงได้ทรงเสด็จประพาสทางชลมารคพร้อมกับเหล่าข้าราชบริพาร เพื่อไปยังวัดเขาสมอคอนแห่งเมืองละโว้หลังจากเสร็จภารกิจแล้วจึงได้เสด็จกลับไปยังกรุงสุโขทัยระหว่างทางขบวนเรือพระที่นั่งได้ล่องเข้าสู่ลำน้ำในเขตหมู่บ้านบางพลับ(ตำบลอินทประมูล ในปัจจุบัน) ซึ่งขณะนั้นใกล้เวลาพลบค่ำจึงไม่เหมาะกับการเดินทาง ท่านจึงทรงสั่งให้ประทับแรม ณ บริเวณริมน้ำ ในคืนนั้นเองพระองค์ทรงพระสุบินนิมิตว่า ทรงเห็นดวงแก้วสุกสว่างไสวลอยขึ้นเหนือที่บรรทมของพระองค์ไปยังทิศตะวันออก เมื่อทรงตื่นจากบรรทมจึงทรงให้ปุโรหิตทำนายพระสุบินนิมิต ปุโรหิตได้กราบบังคมทูลว่า พระสุบินนิมิตนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี อันดวงแก้วสุกสว่างที่เห็นในฝันนั้น อาจเป็นพระบรมธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จแสดงปาฏิหาริย์ให้พระเจ้าแผ่นดินได้ทรงทราบความว่าพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองในสมัยแห่งพระองค์ จึงสมควรจะสร้างพระพุทธรูปไว้เป็นอนุสรณ์ว่าครั้งหนึ่งพระองค์ได้เคยเสด็จมาประทับค้างแรมยังสถานที่แห่งนี้ พระองค์จึงทรงมีดำริให้สร้าง พระพุทธไสยาสน์ แบบก่ออิฐถือปูนขึ้นและทรงมีพระมหากรุณาโปรดให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในมหากุศลครั้งนี้ด้วย โดยใช้เวลาในการจัดสร้างทั้งสิ้น 6 เดือนจึงแล้วเสร็จและพระราชทานพระนามว่า “พระพุทธไสยาสน์ลือไทนฤมิต” ต่อมาในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้พระราชทานพระนามใหม่เป็น "พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล" เพื่อเป็นที่ระลึกถึงขุนอินทประมูล นายอากรผู้บูรณะพระนอนองค์นี้ด้วยดวงจิตแห่งศรัทธาอันแรงกล้าเป็นที่เลื่องลือในรัชสมัยของพระองค์ ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งอดีตอันเป็นจุดเริ่มต้นของวัดขุนอินทประมูลแห่งนี้ คณะกรรมการวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง จึงได้มอบให้ อ.ธนทัศน์ ทองเนียม เป็นผู้วางแนวทางในการจัดสร้างพระพุทธรูป ศิลปะสุโขทัย แท้ๆ ที่มีความงดงาม ประณีต วิจิตรบรรจง ขึ้นมาใหม่ โดยก่อนหน้านี้ได้จัดสร้างเป็นพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย ในครั้งนี้จึงได้ทำการจัดสร้างเป็นพระพุทธรูปปางลีลาอันถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของพระสุโขทัยที่จะขาดเสียมิได้ เพื่อมอบให้แด่ผู้มีจิตศรัทธาในการร่วมสร้างที่พักสถานปฏิบัติธรรมและเสนาสนะ วัดขุนอินทประมูลรวมทั้งเพื่อเป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติและสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาและเพื่อฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของของคนไทยสืบไป
พระพุทธลีลานฤมิตมิ่งมงคล จัดสร้างเป็นพระพุทธรูปปางลีลาศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ ที่มีความงดงามอ่อนช้อยตรงตามพุทธลักษณะทุกประการ มีพระพักตร์รูปไข่ พระศอก้มเอียงมาทางซ้ายเล็กน้อย พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม ไม่มีไรพระศก พระองค์อ่อนช้อยงามสง่า มีจีวรบางๆ แนบติดพระวรกาย ครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวามีชายสังฆาฏิพับพาดอยู่เหนือพระอังสาซ้าย ห้อยลงมาด้านหน้าจรดพระนาภี พระรัศมีเป็นรูปเปลวสะบัดต่อขึ้นไปจากพระเกศมาลา อันเชื่อว่าเป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะลังกา นิ้วพระหัตถ์เป็นแบบธรรมชาติ คือปลายนิ้วพระหัตถ์ไม่เสมอกัน พุทธลักษณะก้าวไปข้างหน้า ประดิษฐานบนฐานเชิงบัวชั้นบนเป็นแบบกลีบบัวซ้อนกันสองชั้น ฐานชั้นล่างแบบฐานสิงห์ที่ให้ความงดงามลงตัวเป็นที่สุด
อิศวรมหากาลไกรลาสบรรพต
อิศวรมหากาลไกรลาสบรรพต
อิศวรมหากาลไกรลาสบรรพต มหาเทพผู้สมบูรณ์ด้วยมหาอำนาจเหนือกาลเวลา ผู้ทำลายสิ่งเลวร้ายสู่การเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่ สุดอลังการ สง่างาม ทรงคุณค่า เหนือคำบรรยาย
“อิศวรมหากาลไกรลาสบรรพต” ถือเป็นตัวแทนแห่งเจ้าผู้ปกครองผู้สมบูรณ์ด้วยอำนาจเหนืออำนาจทั้งปวงด้วยมหาบารมีเหนือกาลเวลา เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม ความดี มีพระเมตตา ต่อทุกสรรพชีวิต มีความเฉลียวฉลาด ใช้สติและปัญญาในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอันเป็นคุณสมบัติอันควรค่าแก่การเป็นต้นแบบแห่งเจ้าผู้ปกครองทั้งหลาย และยังทรงเป็นผู้ทำลายล้างสิ่งเลวร้ายทั้งหลายที่มีอยู่สู่การเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่ องค์อิศวรถือเป็นมหาเทพที่มีผู้เคารพสักการะบูชา อย่างมากมายมาตั้งแต่ครั้งอดีตกาลจวบจนถึงปัจจุบัน
จากตำนานแห่งความศรัทธาสู่การรังสรรค์ผลงานด้านจิตรกรรมและประติมากรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราวแห่งองค์อิศวรมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ผู้อยู่เหนือกาลเวลาและสรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาล เทวลักษณะเป็นศิลปะแบบไทย มีพระพักตร์ยิ้มอย่างอิ่มเอิบด้วยความสุขจากภายในสู่ภายนอก พระเกศาทรงปิ่นพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว คล้องพระศอด้วยนาค พระนลาฏมีพระเนตรที่สามใช้ทำลายล้างสิ่งอัปมงคลชั่วร้ายสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่โลกยุคใหม่ พระหัตถ์ขวาของพระองค์ทรงประทานพรอันศักดิ์สิทธิ์สู่ความสมบูรณ์ด้วยอำนาจเหนือกาลเวลา พระหัตถ์ซ้ายทรงดอกบัวบานสัญลักษณ์แห่งการตื่นรู้และหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง พระหัตถ์ขวาบนทรงตรีศูลและบัณเฑาะก์สัญลักษณ์แห่งการอยู่เหนือทั้งสามโลกทั้งชายและหญิง พระหัตถ์ซ้ายบนทรงสังข์สัญลักษณ์แห่งการมีชื่อเสียงในคุณธรรมความดีงามที่ปรากฎไปทั้งสามโลก ประทับบนแผ่นหนังทั้งตัวและหัวเสือโคร่งสัญลักษณ์แห่งอำนาจเหนืออำนาจทั้งปวง สถิตเหนือยอดเขาไกรลาส อันประกอบไปด้วยโคนนทิพาหนะแห่งองค์อิศวรผู้เป็นเจ้าแห่งสัตว์สี่เท้าทั้งมวล ทั้งพญาราชสีห์บันลือสีหนาทสัญญาลักษณ์แห่งผู้มีอำนาจอันยิ่งใหญ่ อีกทั้งกินรี สัญลักษณ์แห่งความงดงามมี เสน่ห์สมหวังในความรัก อีกทั้งเชิงเขาไกรลาสยังมีฐานรายล้อมด้วยสายน้ำแห่งป่าหิมพานต์ต้นกำเนิดแห่งความอุดมสมบูรณ์ต่อมวลมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลาย อันจะนำมาซึ่งความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่ผู้ที่ได้มีไว้ในครอบครองและเพื่อเป็นสมบัติของวงศ์ตระกูลสืบต่อไป โดยผลงานดังกล่าวนี้สืบเนื่องจากแนวคิดจากผู้เชี่ยวชาญการสื่อสารงานพุทธศิลป์อย่าง อ.ธนทัศน์ ทองเนียม และ ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล ที่ปรึกษาโครงการ แห่ง Artmulet ผ่านจิตรกรเอก อ.เกรียงกมล นาคบางแก้วและประติมากรชั้นครู อ.สุชาติ แซ่จิว สองศิลปินที่กำลังมาแรงอยู่ขณะนี้ โดยท่านสามารถรังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ได้อย่างงดงามสุดอลังการอย่างน่าอัศจรรย์ทั้งรายละเอียดที่ดูอ่อนช้อยงดงามพริ้วไหวแต่ทรงพลังอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่เกินคำบรรยาย และทั้งหมดนี้เพื่อฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของแผ่นดิน
ท้าวกุเวรธเนศวรธนบดีมหาราชลีลา
ท้าวกุเวรธเนศวรธนบดีมหาราชลีลา
ท้าวกุเวรธเนศวรธนบดีมหาราชลีลา พญายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์ งดงามอลังการเหนือคำบรรยาย ผลงานการจัดสร้างโดย Artmulet
ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณพญายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์ เป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์ เป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ คนจีนเรียกว่า "โต้เหวน" หรือ "โต้บุ๋น" ในศาสนาพุทธ รู้จักกันมากในนามว่า ท้าวเวสสุวรรณ อดีตชาติ ในยุคสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า ท้าวกุเวรเกิดเป็นพราหมณ์ ชื่อ กุเวรพราหมณ์ ร่ำรวยขึ้นมาจากการมีไร่อ้อยจำนวนมาก ได้สร้างศาลาที่พักให้กับผู้คนที่เดินทางผ่านไปมาถึง 10 แห่ง และแจกน้ำอ้อยแก่ผู้ที่มาพัก เป็นผู้ที่ทำทานอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แต่ด้วยเหตุที่เป็นผู้มากด้วยโทสะจึงได้ไปเกิดเป็นพญายักษ์ มีชื่อว่าท้าวกุเวร มีผิวกายสีเขียว สีทอง และสีดั่งน้ำอ้อย ปกครองพวกยักษ์ อยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทางด้านทิศเหนือ ท้าวกุเวรมีกระบอง เป็นอาวุธชื่อว่า มหากาล สามารถทำลายล้างโลกธาตุได้ มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ ปราสาททองคำ อาภรณ์มงกุฎประดับ ดำรงอิสริยยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ในทางพุทธศาสนา ท้าวกุเวร มีนามที่เรียกกันอีกหลายพระนามอาทิ พระชัมภละ พระธเนศวร พระธนบดี ฯลฯ ถือเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ท้าวกุเวรสถิตอยู่ณยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระ ชื่อ ธรณี กว้าง 50 โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑปชื่อ "ภคลวดี" กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้ เป็นสโมสรสถานของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน
ท้าวกุเวรธเนศวรธนบดีมหาราชลีลา พญายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์ ในชุดเครื่องทรงอาภรณ์มงกุฎประดับ ดำรงอิสริยยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ ประทับบนบัลลังค์ทองประดับด้วยเพชรนิลจินดาแบบมหาราชลีลาอันหมายถึงผู้ที่นั่งอยู่เหนือกองมหาสมบัติทั้งหลาย มือซ้ายมีอาวุธเป็นกระบองมหากาลใช้ทำลายล้างปัญหาและอุปสรรคต่างๆให้สิ้นไป มือขวาถือไหทองคำดุจดังเงินไหลกองทองไหลมาไม่สิ้นสุด มือซ้ายบนถือโครตเพชรเม็ดงามแสดงถึงความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ในทรัพย์สมบัติอันมหาศาลไม่มีที่สิ้นสุด มือขวาบนชี้นำทางสว่างสู่ความสำเร็จสมปรารถนาทุกประการ ดังนั้นเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสร้างคุณงามความดีและเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในการฟันฝ่าปัญหาและอุปสรรคทั้งหลายเพื่อนำไปสู่ขุมทรัพย์อันยิ่งใหญ่ไพศาลสมดังปรารถนา ทางคณะกรรมการผู้จัดสร้างโดย อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารงานพุทธศิลป์ แห่ง Artmulet และดร.ทรงพล เขมะบุลกุล ที่ปรึกษาโครงการ ได้มอบหมายให้ อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว จิตรกรเอกแห่งยุค เป็นผู้ออกแบบผลงานดังกล่าว และมอบให้ อ.กฤษณะ นาพูลผล ประติมากรเอกชื่อดัง เป็นผู้รังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ และเพื่อให้ผลงานในครั้งนี้มีความงดงามวิจิตรบรรจงใกล้เคียงองค์ต้นแบบมากที่สุดจึงได้มอบหมายให้โรงหล่อเอเชียไฟน์อาร์ต เป็นผู้รับผิดชอบการหล่อผลงานครั้งนี้ โดยหล่อด้วยโลหะบรอนซ์ออสเตเรีย (สำริด) เพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกเป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติแด่ผู้มีจิตศรัทธาที่ได้ร่วมกันบริจาคเงินในโครงการจัดสร้างที่พักและสถานปฏิบัติธรรม วัดขุนอินทรประมูล จ.อ่างทอง และมอบไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของแผ่นดิน
พระพุทธญาณมุนีอู่ทองสุวรรณภูมิ
พระพุทธญาณมุนีอู่ทองสุวรรณภูมิ
พระพุทธรูปองค์นี้เกิดขึ้นจากความศรัทธาและปฏิปทาอันแรงกล้าที่มีต่อพระพุทธ ศาสนาในการที่จะสร้างพระพุทธรูปขนาดบูชาที่มีความงดงามเป็นที่สุดในแต่ละยุคสมัยเพื่อไว้เป็นเครื่องเจริญสติต่อบรรดาสาธุชนทั้งหลาย โดยที่ผ่านมานั้นได้เริ่มสร้างพระพุทธสิงหอินทราชาบดีหรือพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่งซึ่งถือเป็นที่สุดในความงามของพระพุทธรูปในแบบศิลปะล้านนา ต่อมาได้สร้างพระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคลพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ซึ่งถือเป็นพระพุทธรูปที่มีความงดงามอ่อนช้อยโดดเด่นเป็นที่กล่าวขานและรู้จักกันดีในบรรดานักสะสมพระพุทธรูปทั้งหลาย และขณะนี้ได้มีการจัดสร้างพระพุทธญาณมุนีอู่ทองสุวรรณภูมิ พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง ที่ได้รับการกล่าวขานถึงความงดงามในพุทธลักษณะที่ดูเข้มขลัง ก่อให้เกิดสติและความมั่นคงในอารมณ์ พระพุทธรูปทั้งสามองค์นี้ถือเป็น “พระพุทธรูปชุดสุดยอดมหาไตรภาคี” ซึ่งเป็นสุดยอดแห่งงานศิลปะพระพุทธรูปยุคคลาสสิกทั้งสามสมัย
พระพุทธญาณมุนีอู่ทองสุวรรณภูมิ เป็นพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองยุคกลาง ที่ถือกำเนิดขึ้น ณ ดินแดนทุ่งโพธิ์ทอง อันเป็นที่ตั้งของวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ในปัจจุบันและเป็นที่ประดิษฐานองค์ “พระพุทธไสยาสน์ลือไทยนฤมิต” ตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัย และต่อมาได้รับพระราชทานพระนามใหม่โดยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาเป็น “พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล” เพื่อเป็นการตอบแทนศรัทธาอันแรงกล้าของขุนอินทประมูลที่มีต่อพระพุทธศาสนา ดังนั้นสถานที่แห่งนี้จึงถือเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์และอุดมสมบูรณ์เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ จึงเป็นที่มาแห่งพระนามพระพุทธญาณมุนีอู่ทองสุวรรณภูมิ คณะกรรมการวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ได้มอบหมายให้ อ.ธนทัศน์ ทองเนียม เป็นประธานดำเนินงาน มี ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล เป็นที่ปรึกษาในโครงการจัดสร้างพระพุทธญาณมุนีอู่ทองสุวรรณภูมิ พระพุทธรูปศิลปะอู่ทองแท้ๆ ที่มีความงดงาม ประณีต วิจิตรบรรจง เพื่อมอบให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาในการร่วมสร้างที่พักสถานปฏิบัติธรรมและศาลาอเนกประสงค์ภายในวัดขุนอินทประมูล ไว้สำหรับเป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติและสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาเพื่อฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
พระพุทธญาณมุนีอู่ทองสุวรรณภูมิ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะอู่ทองยุคกลาง ที่มีความงดงามตรงตามพุทธลักษณะทุกประการ มีพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระขนงเป็นรูปปีกกา มีแถบไรพระศกเป็นเส้นคั่นระหว่างพระเกศากับพระนลาฎ ขมวดพระเกศาเล็กเป็นหนามขนุนอย่างชัดเจน พระอุษณีเป็นต่อมกลมเสมอ พระรัศมีเป็นรูปเปลวแบบแข็งกระด้าง พระองค์ค่อนข้างแข็งดูงามสง่าซึ่งถือเป็นลักษณะเด่นของพระอู่ทองที่ดี ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิเป็นแถบยาวจรดพระนาภีปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์แข็งและเป็นแบบธรรมชาติ คือปลายนิ้วพระหัตถ์ไม่เสมอกัน นั่งขัดสมาธิราบบนฐานสำเภาอันมีที่มาจากเรือสำเภาเก้าเสาของแม่ทัพเจิ้งเหอ มหาขันที ซำปอกง แห่งกองเรือมหาสมบัติจักรพรรดิแดนมังกร เมื่อครั้งนำกองเรือมหาสมบัติอันยิ่งใหญ่มาค้าขายขยายอิทธิพลทางการค้าแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในสมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของชาวไทยเชื้อสายจีนในเวลาต่อมา
พระพุทธญาณมุนีอู่ทองสุวรรณภูมิ ถือเป็นสุดยอดแห่งความเป็นสิริมงคลเมื่อได้มีไว้บูชาและยังถือเป็นพระประจำตระกูล เพื่อความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลและเป็นมรดกสืบต่อไปยังลูกหลานในภายหน้า
นารายณ์ทรงเมือง อนันตนาคราช
นารายณ์ทรงเมือง อนันตนาคราช
นารายณ์ทรงเมืองอนันตนาคราช ถือเป็นตัวแทนแห่งเจ้าผู้ปกครองผู้มากด้วยบารมีโดยสมบูรณ์ เปี่ยมด้วยพระเมตตาคุณธรรม ความดีงาม มีความเฉลียวฉลาด เป็นผู้ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา อันเป็นคุณสมบัติอันควรค่าแก่การเป็นต้นแบบแห่งผู้ปกครองอย่างแท้จริง อีกทั้งยังทรงมีเทวานุภาพในการขจัดหมู่มารและสิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย เป็นที่เคารพสักการะบูชามาตั้งแต่ครั้งอดีตกาลจวบจนถึงปัจจุบัน ส่วนพญาอนันตนาคราชนั้น ถือเป็นราชาแห่งพญานาคผู้เป็นใหญ่ในบาดาลนครและเกษียรสมุทร และยังเชื่อกันว่าเป็นอีกร่างหนึ่งขององค์พระนารายณ์ที่อวตารมาเป็นพญานาคราชผู้มีหน้าที่คอยรองรับแผ่นดิน และเป็นผู้ที่จะพ่นไฟทำลายล้างสิ่งชั่วร้ายเพื่อก่อกำเนิดสิ่งใหม่ทั้งยังทรงเป็นเทพบัลลังก์แห่งพระนารายณ์ พญาอนันตนาคราชนั้นเป็นพญานาคผู้เลื่องชื่อในเรื่องของฤทธิ์เดช อำนาจ และบารมี โดยเฉพาะตามคติของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ถือว่าพญาอนันตนาคราชเป็นที่สุดแห่งพญานาคทั้งปวง เป็นที่เคารพสักการะของผู้คนทั้งหลาย มีพลังอำนาจ มากด้วยบารมี และเป็นที่ยอมรับมากที่สุด ดุจดังนามอันยิ่งใหญ่ “พญาอนันตนาคราช” นั่นเอง
จากตำนานแห่งความศรัทธาสู่การรังสรรค์ผลงานด้านจิตรกรรมและประติมากรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราวแห่งองค์พระนารายณ์มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ขณะทรงครองเมืองเหนือมหาปราสาท พระหัตถ์ขวาของพระองค์ทรงตรีสัญลักษณ์แห่งผู้เป็นใหญ่เหนือผู้อื่นใดในสามโลก พระหัตถ์ซ้ายทรงคฑาครุฑสัญลักษณ์แห่งผู้ทรงฤทธิ์อำนาจในการบัญชาการทั้งหลาย พระหัตถ์ขวาบนทรงจักรสัญลักษณ์แห่งการเคลื่อนไปข้างหน้าลบล้างสิ่งชั่วร้ายสร้างคุณธรรมความดี พระหัตถ์ซ้ายบนทรงสังข์สัญลักษณ์แห่งการมีชื่อเสียงในคุณธรรมความดีงามที่ปรากฏไปทั้งสามโลก มีองค์พญาอนันตนาคราชผู้เป็นราชาเหนือพญานาคทั้งปวงทรงเป็นบัลลังก์อันยิ่งใหญ่ให้พระองค์ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์มั่งคั่งอย่างหาที่สุดมิได้ พร้อมทั้งสายน้ำแห่งเกษียรสมุทรอันเป็นน้ำอมฤตที่จะนำพาความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลมาสู่วงศ์ตระกูลสืบไป
คเนศวรมหาเทวะ ปัญญาบารมี
คเนศวรมหาเทวะ ปัญญาบารมี
คเนศวรมหาเทวะ ปางปัญญาบารมี ขจัดอุปสรรคปัญหานำพาผู้ศรัทธาสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ งดงามอลังการเหนือคำบรรยาย
การเดินทางรอบโลกและจักรวาลเพื่อผลมะม่วง ครั้งหนึ่งพระแม่อุมา มารดาแห่งพระพิฆเนศวรและพระขันธกุมาร ได้นำเอาผลมะม่วงมาถวายแด่องค์พระศิวะมหาเทพผลหนึ่ง ปรากฏว่าลูกทั้งสองคือ พระพิฆเนศวร และ พระขันธกุมาร ต่างก็อยากจะเสวยมะม่วงผลนี้ด้วยกันทั้งคู่ ด้วยเหตุนี้ องค์ศิวะมหาเทพ อยากทดสอบว่าลูกทั้งสองนี้ใครจะมีสติปัญญาเหนือกว่ากัน จึงได้กล่าวขึ้นว่า ใครก็ตามหากแม้นเดินทางรอบโลกได้ถึงเจ็ดรอบและกลับสู่วิมานแห่งนี้ได้ก่อนผู้นั้นจึงจะได้ผลมะม่วงนี้ ฝ่ายพระขันธกุมารเมื่อได้ยินดังนั้นก็ไม่รอช้า รีบทรงนกยูงตระเวนรอบโลกทันที ฝ่ายพระพิฆเนศแทนที่จะเอาอย่าง กลับเดินประทักษิณรอบองค์พระศิวะมหาเทพผู้เป็นบิดาและพระแม่อุมาผู้เป็นมารดาของพระองค์จนครบเจ็ดรอบ แล้วจึงกล่าวขึ้นว่า...."ข้าแต่พระบิดา พระองค์คือจักรวาล และจักรวาลคือพระองค์ พระองค์ผู้สร้างโลก พระองค์ทั้งสองทรงเป็นบิดาและมารดาแห่งข้าพระองค์ ข้าพระองค์ทำประทักษิณต่อพระองค์ทั้งสองเจ็ดรอบ ถือว่าได้กุศลเท่ากับเดินทางรอบโลกเจ็ดรอบ" องค์ศิวะมหาเทพมีความยินดีในคำตอบเป็นอย่างยิ่งและกล่าวชื่นชมในสติปัญญาขององค์พระพิฆเนศวรว่า "เจ้าเป็นผู้ที่ยอดเยี่ยมและมีสติปัญญาเป็นที่สุด สิ่งที่เจ้าได้กล่าวมานั้นเป็นจริงทั้งสิ้น ถ้าผู้ใดได้มีปัญญาเป็นคุณสมบัติติดตัว แม้เมื่อโชคร้ายมาถึงเขาความโชคร้ายนั้นย่อมถูกกำจัดสิ้นด้วยปัญญา" แล้วจึงได้มอบผลมะม่วงนั้นให้กับองค์พระพิฆเนศวรในทันที
จากตำนานแห่งความศรัทธาสู่การรังสรรค์ผลงานด้านจิตกรรมและประติมากรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านองค์คเนศวรมหาเทวะในลักษณะก้าวเดินรอบโลกขณะที่พระพักตร์กำลังมีความสุขเมื่อกำลังใช้งวงถือขนมโมทะกะและพระหัตถ์ถือถ้วยขนมโมทะกะที่พระองค์ทรงโปรดปรานเปรียบดังความสุขความอุดมสมบูรณ์แห่งชีวิตพระหัตถ์ขวาถืองาและผลมะม่วงเปรียบดังสติปัญญาอันแหลมคมนำพาสู่ความสำเร็จทั้งปวง พระหัตถ์ซ้ายด้านบนถือเชือกบ่วงสำหรับคล้องใจผู้คนทั้งหลายให้เป็นที่รักที่เชื่อถือและศรัทธา พระหัตถ์ขวาบนถือขวานศักดิ์สิทธิ์สำหรับฟันฝ่าอุปสรรคทั้งปวงให้หมดสิ้นไป พระรัศมีด้านบนมีความโชติช่วงสว่างไสวและแหลมคมแทงทะลุปัญหาและอุปสรรคทั้งหลายได้หมดสิ้นพระรัศมีด้านหลังตรงกลางเป็นตัวอักขระโอมอันศักดิ์สิทธิ์เป็นคำบูชามหาเทพในที่นี้เปรียบดังองค์ศิวะมหาเทพอันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลล้อมรอบด้วยเส้นประทักษิณถัดลงมาเป็นพระนามแห่งองค์ คเนศวรมหาเทวะ รายล้อมด้วยลวดลายแห่งอากาศธาตุอันสุญญตาคือความว่างอันเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาบารมี สำหรับด้านล่างที่เป็นส่วนของฐานนั้นชั้นบนประกอบด้วยดาวโลกที่มีหนู มุสิกะอันเป็นผู้ศรัทธาในองค์คเนศวรมหาเทวะกำลังนั่งกินขนมโมทะกะที่พระองค์ทรงประทานให้ดุจดังผู้คนทั้งหลายที่มีศรัทธาต่อองค์คเนศวรมหาเทวะจะได้รับความสุขสมบูรณ์บนพื้นโลกใบนี้ บริเวณรอบโลกมีเปลวรัศมีแห่งอากาศธาตุทรายล้อมอยู่รอบด้านเปรียบดังสุญญตาคือความว่างอันนำมาสู่ปัญญาบารมี รอบฐานประกอบด้วยดวงดาวนพเคราะห์ทั้งหลายตามหลักโหราศาสตร์ ประกอบ ดาวอาทิตย์ ดาวจันทร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ ราหู เกตุ และ มฤตยู อันหมายถึงการหนุนชะตาเสริมบารมี ขจัดอุปสรรคทั้งหลายให้หมดสิ้นนำพาความสำเร็จมาสู่ผู้ศรัทธาในทุกดวงชะตาราศีเกิด
โดยผลงานดังกล่าวนี้สืบเนื่องจากแนวคิดจากผู้เชี่ยวชาญการสื่อสารงานพุทธศิลป์อย่าง อ.ธนทัศน์ ทองเนียม และ ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล ที่ปรึกษาโครงการ แห่ง Artmulet ผ่านจิตรกรเอก อ.เกรียงกมล นาคบางแก้วและประติมากรดัง อ.กฤษณะ นาพูนผล สองศิลปินดาวรุ่งที่กำลังมาแรง โดยสามารถรังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ได้อย่างน่าอัศจรรย์เส้นสายลีลาที่พลิ้วไหวการย่างก้าวที่ต่อเนื่องลงตัวเหนือสุดแห่งคำบรรยาย
เหรียญปราบอสุรินทราหู คู่ชีวิต
เหรียญปราบอสุรินทราหู คู่ชีวิต
เหรียญปราบอสุรินทราหู คู่ชีวิต
เหรียญมหามงคลครอบจักรวาล
ต้องมีไว้ติดตัวเพื่อเรียกสติ เสริมมงคลให้ชีวิต
อสุรินทราหู คือ อสูรที่พ่ายแพ้ต่อบุญบารมีและพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามตำนานเล่าขานกันมาว่า อสุรินทราหูผู้เป็นอุปราชของท้าวเวปจิตติอสุรบดินทร์ผู้ครองอสูรพิภพได้สดับพระเกียรติคุณของพระพุทธเจ้าจากเหล่าเทวดาทั้งหลายว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษไม่มีใครเหนือ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีพระทัยเบิกบานยิ่งเป็นผู้จำแนกธรรมอันประเสริฐ ครั้นได้ฟังแล้วจึงอยากเข้าเฝ้าฟังธรรมจากพระพุทธองค์บ้าง แต่คิดว่าพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ มีพระวรกายเล็กต่างจากตนตนที่เป็นอสูรมีร่างกายใหญ่ จึงคิดไปว่าหากไปเข้าเฝ้าต้องก้มมองพระพุทธเจ้าที่พระวรกายเล็กกว่าตน เป็นความลำบากทั้งเราก็ไม่เคยก้มเศียรให้ใครและไม่ยอมแสดงความอ่อนน้อม จึงไม่ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่ด้วยเห็นพรหมและเหล่าเทพเทวดาทั้งหลายไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากันคราวละมาก ๆ ความคิดใคร่จะไปเฝ้าก็เกิดขึ้นอีก ในราตรีหนึ่ง อสุรินทราหูจึงไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ
ครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหารในพระนครสาวัตถี ทรงทราบด้วยณานทัศนะว่าอสุรินทราหูจะมาเข้าเฝ้า และทรงทราบถึงความคิดของอสุรินทราหูที่คิดดูหมิ่นพระองค์ที่มีพระวรกายเล็ก ครั้นใกล้เวลาที่อสุรินทราหูมาเข้าเฝ้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเสด็จบรรทมในพระแท่นที่ประทับ ทรงทำปาฏิหาริย์นิรมิตพระกายให้ใหญ่โตกว่าอสุรินทราหูหลายเท่า พระรูปนี้จะปรากฏเฉพาะแต่อสุรินทราหูให้เห็นแต่ผู้เดียวเท่านั้น ครั้นอสุรินทราหูมาเข้าเฝ้า เห็นเข้าก็อัศจรรย์ใจมาก แม้แต่เพียงพระบาททั้ง ๒ ข้างที่ซ้อนกันอยู่ ก็ยังสูงและใหญ่กว่าอสุรินทราหูเสียอีก เมื่ออสุรินทราหูเข้าใกล้ได้ถวายอภิวาท แทนที่จะต้องก้มลงดูพระพุทธเจ้าดังที่คิดแต่แรกมากลับต้องแหงนหน้าชมพระพุทธลักษณะอันงดงาม ตั้งแต่พื้นพระบาทจนถึงพระพักตร์ ปรากฏว่าเป็นที่พอใจได้ความปลาบปลื้มที่ได้ชมพระรูปพระโฉมของพระพุทธเจ้าทั้งใหญ่ทั้งงามสมส่วนทุกประการ ก็กราบทูลสรรเสริญ
ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภากเจ้าทรงตรัสต่ออสุรินทราหูว่า บุคคลทั้งหลายเมื่อได้ทราบข่าวเล่าลือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ๆ หากยังไม่ได้เห็น, ยังไม่พิจารณาให้ถ่องแท้แก่ใจตนแล้ว ไม่พึงติชมก่อน ท่านคงเข้าใจว่า ท่านมีร่างกายใหญ่กว่าเทพยดาและอสูรทั้งหลาย จริงอยู่บรรดาพวกอสูรทั้งหลายในอสูรพิภพนั้นมีร่างกายเล็กกว่าท่าน แต่ท่านคิดหรือเปล่าว่าในที่อื่นอาจมีผู้ที่มีร่างกายใหญ่กว่าท่าน เหมือนปลาใหญ่ในหนองคลองบึง มันอาจคิดว่าตัวมันโตกว่าปลาทั้งหลาย ไม่มีปลาตัวใดจะเสมอได้ เพราะมันยังไม่ได้ไปเห็นปลาในมหาสมุทร บรรดาพรหมทั้งหลายในพรหมโลกชั้นบนทั้งหมดล้วนมีร่างกายใหญ่กว่าท่าน ถ้าท่านมีความปรารถนาจะได้ชมพรหมเหล่านั้น ตถาคตรับรองว่าจะพาท่านไปดู ไปชมได้แม้ในขณะนี้ ครั้นอสุรินทราหูทูลขอประทานพระกรุณาให้พาไปชมพรหมทั้งหลายในพรหมโลก พระผู้มีพระภาคได้ทรงทำปาฏิหาริย์พาอสุรินทราหูไปยังพรหมโลกในทันใดนั้น บรรดามหาพรหมทั้งหลายที่พากันมาเฝ้านั้น ล้วนมีร่างกายใหญ่กว่าอสุรินทราหูตั้งร้อยเท่าพันเท่า แต่พระผู้มีพระภาคกลับมีพระกายปรากฏว่าใหญ่กว่ามหาพรหมเหล่านั้นทั้งหมด ส่วนอสุรินทราหูคงมีร่างกายเท่าเดิม มีความหวาดกลัวตัวสั่นเทา หลบอยู่หลังพระพุทธเจ้า นับแต่นั้นมาก็ลดทิฐิมานะ อ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์ และเมื่อได้สดับฟังพระธรรมเทศนา ก็เกิดความเลื่อมใส ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
จากตำนานดังกล่าวเป็นที่มาของพระพุทธรูปปราง “ปราบอสุรินทราหู” หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า โปรดอสุรินทราหู พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา พระบาทซ้ายทับพระบาทขวาเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบทอดไปตามพระกาย พระกัจฉะทับบนพระเขนย อุ้งพระหัตถ์ขวาขึ้นประคองพระเศียรให้ตั้งขึ้น พระพุทธรูปปรางนี้จึงเป็นปางเดียวกับองค์ พระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ที่มีประวัติการสร้างมายาวนานตั้งแต่ครั้นสมัยสุโขทัย มีอายุกว่า 600ปี มาแล้ว นั่นเอง
พระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคล
พระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคล
“พระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคล” อันเป็นผลงานศิลปะในรูปแบบงานประติมากรรมอันเกิดขึ้นจากความศรัทธาในความงดงามของพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย หนึ่งใน “พระพุทธรูปชุดสุดยอดมหาไตรภาคี” พระพุทธรูปองค์นี้เกิดขึ้นจากความศรัทธาและปฏิปทาอันแรงกล้าที่มีต่อพระพุทธศาสนาในอันที่จะสร้างพระพุทธรูปขนาดบูชาที่มีความงดงามเป็นที่สุดในแต่ละยุคสมัย ซึ่งประกอบไปด้วยพระพุทธสิงหอินทราชาบดีหรือพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่งซึ่งถือเป็นที่สุดในความงามของพระพุทธรูปในแบบศิลปะล้านนา และพระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคลเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ถือเป็นพระพุทธรูปที่มีความงดงามอ่อนช้อยโดดเด่นเป็นที่กล่าวขานและรู้จักกันดีในบรรดานักสะสมพระพุทธรูปทั้งหลาย สำหรับพระพุทธญาณมุนีอู่ทองสุวรรณภูมิ พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง ที่ได้รับการกล่าวขานถึงความงดงามในพุทธลักษณะที่ดูเข้มขลัง ก่อให้เกิดสติและความมั่นคงในอารมณ์ พระพุทธรูปทั้งสามองค์นี้ถือเป็นสุดยอดแห่งงานศิลปะพระพุทธรูปยุคคลาสสิกทั้งสามสมัย
สำหรับพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยจะมีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแต่ก็มีลักษณะในบางรายละเอียดแตกต่างกันทำให้มีการจำแนกพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยออกเป็นหมวดต่างๆ ดังนี้ พระพุทธรูปสุโขทัย หมวดใหญ่, พระพุทธรูปสุโขทัย หมวดกำแพงเพชร, พระพุทธรูปสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช, พระพุทธรูปสุโขทัย หมวดพิษณุโลก, พระพุทธรูปสุโขทัย หมวดเบ็ดเตล็ด หรือ หมวดวัดตะกวน
พระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคล จัดสร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ ที่มีความงดงามตรงตามพุทธลักษณะทุกประการ มีพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม ไม่มีไรพระศก พระองค์ค่อนข้างอ่อนช้อยงามสง่า มีจีวรบางๆ แนบติดพระวรกาย ครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวามีชายสังฆาฏิพับพาดอยู่เหนือพระอังสาซ้าย ห้อยลงมาด้านหน้าจรดพระนาภี พระรัศมีเป็นรูปเปลวต่อขึ้นไปจากพระเกศมาลา อันเชื่อว่าเป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะลังกา นิ้วพระหัตถ์เป็นแบบธรรมชาติ คือปลายนิ้วพระหัตถ์ไม่เสมอกัน
พระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคล ถือกำเนิดขึ้นบนดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองศิลปะสุโขทัยที่สร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งสมัยพระยาเลอไทพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสุโขทัย ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งอดีตอันเป็นจุดเริ่มต้นของวัดขุนอินทประมูลแห่งนี้ คณะกรรมการวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง จึงได้มอบหมายให้ อ.ธนทัศน์ ทองเนียม เป็นประธานดำเนินงาน มี ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล เป็นที่ปรึกษาในโครงการในการจัดสร้างพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแท้ๆ ที่มีความงดงาม ประณีต วิจิตรบรรจง ขึ้นมาใหม่ เพื่อมอบให้แด่ผู้มีจิตศรัทธาในการร่วมสร้างที่พักสถานปฏิบัติธรรมและศาลาอเนกประสงค์ภายในวัดขุนอินทประมูล รวมทั้งเพื่อมีไว้เป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติและสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา เพื่อฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
พระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคล เหมาะสำหรับมีไว้บูชาเป็นพระประจำตระกูล เพื่อเป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติและมรดกสืบต่อไปยังลูกหลานสืบไป
พระพุทธสิงหอินทราชาบดี สิงห์หนึ่ง
พระพุทธสิงหอินทราชาบดี สิงห์หนึ่ง
พระพุทธสิงหอินทราชาบดี
สิงห์หนึ่ง วัดขุนอินทประมูล
พระประจำตระกูล
ภายในบรรจุแผ่นยันต์มหามงคลจักรวาล
มหายันต์แห่งโชคลาภ หนุนชะตา เสริมบารมี
ประติมากร อ.สุชาติ แซ่จิว
เลือกหมายเลขประจำองค์พระได้
หากจะกล่าวถึงบรรดาศิลปะแห่งพระพุทธรูปในแต่ละยุคสมัยนั้น เริ่มจากพระพุทธรูปศิลปะล้านนา สุโขทัย อยุธยา จนมาถึงพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์นั้น พระพุทธรูปหนึ่งในสุดยอดปรารถนาของบรรดานักสะสมพระพุทธรูปพระบูชาแล้ว อันดับหนึ่ง ต้องยกให้กับพระพุทธรูปเชียงแสน สิงห์หนึ่ง ศิลปะล้านนา โดยเฉพาะหากเป็นพระเก่าอายุถึงยุคสมัยแล้ว ราคาเช่าบูชาต้องว่ากันนับหลายล้านบาททีเดียว ดังนั้น พระเชียงแสนสิงห์หนึ่งจึงมักตกอยู่ในครอบครองของบรรดานักสะสมผู้มากด้วยบารมีและฐานะทางสังคมโดยส่วนใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์งดงาม พระอุระอวบอิ่มสมบูรณ์ ดุจดังพญาราชสีห์ สื่อความหมายถึงความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ทั้งอำนาจ วาสนา บารมี และยังเป็นตัวแทนแห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในยุคสมัยนั้นด้วย
พระพุทธสิงหอินทราชาบดี สิงห์หนึ่ง วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง มีที่มาจากเรื่องราวในครั้งอดีตสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งขุนอินทประมูลคหบดี เป็นนายอากรเก็บภาษี ผู้บูรณะพระนอนองค์ใหญ่ที่สร้างมาแต่ครั้งสมัยพระยาเลอไทแห่งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในครั้งนั้นขุนอินทประมูลได้ถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินภาษีอากรของทางราชการ มาบูรณะพระนอน แต่ขุนอินทประมูลยืนยันว่าเงินที่นำมาบูรณะพระนอนนั้นเป็นเงินที่ตนได้เก็บสะสมมาตั้งแต่ครั้งเริ่มรับราชการหาใช่เงินที่ยักยอกมาดังที่ถูกกล่าวหา แต่ทางการกับคาดคั้นด้วยการโบยตี โดยหวังให้ขุนอินทประมูลยอมจำนนรับสารภาพ แต่ขุนอินทประมูล ผู้มีหัวใจสิงห์ ยอมตายไม่ยอมให้พระพุทธศาสนาต้องมามัวหมองเพราะคำกล่าวหานั้น ครั้นเมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงทราบถึงความเด็ดเดี่ยวในศรัทธาอันแรงกล้าของขุนอินทประมูลที่มีต่อพระพุทธศาสนา จึงได้ทรงพระราชทานทองคำประดับพระเกศมาลาองค์พระพุทธไสยาสน์ และทรงพระราชทานพระนามใหม่เป็น "พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล" ต่อมาในยุคแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ในหลวงรัชกาลที่ 5 มาถึง ในหลวงรัชกาลที่ 9 ยังได้ทรงเสด็จฯ มาสักการะ พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูลองค์นี้อยู่เรื่อยมา ดั้งนั้นเพื่อเป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาและเป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติ ตลอดจนเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของขุนอินทประมูล คหบดีผู้มีหัวใจสิงห์ จึงนำมาสู่แนวคิดในการจัดสร้างพระพุทธรูปขนาดบูชาในแบบสิงห์หนึ่ง เปรียบดังหัวใจสิงห์ของขุนอินทประมูล โดยพระพุทธรูปที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ จะต้องมีความสง่างาม สมบูรณ์ ทรงคุณค่า และสืบสานงานพุทธศิลป์ตามแบบยุคสมัยเดิมในแบบพระเชียงแสนสิงห์หนึ่งแท้ๆ ถูกต้องตามพุทธลักษณะ ที่มีความประณีต วิจิตร บรรจงในทุกขั้นตอนของการจัดสร้าง เพื่อมอบไว้เป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดินและมอบให้ผู้มีจิตศรัทธาในโครงการจัดสร้างสถานปฏิบัติธรรมและเสนาสนะภายในวัดขุนอินทรประมูล จ.อ่างทอง ทางคณะกรรมการโครงการ โดย อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ผู้เชี่ยวชาญการสื่อสารด้านงานพุทธศิลป์ จึงมอบหมายให้ อ.สุชาติ แซ่จิว ประติมากร ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในงานปั้นพระพุทธรูปแบบคลาสสิกที่กำลังโด่งดังอยู่ ณ เวลานี้ เป็นผู้รังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ให้มีความงดงามวิจิตรบรรจง ในรูปแบบของพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ยุคต้น ขึ้นมาใหม่ในลักษณะประติมากรรมลอยตัว มีพุทธศิลป์คล้ายกับพระพุทธรูปแบบปาละของอินเดีย คือมีพุทธลักษณะพระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระหนุเป็นปม พระวรกายอวบอ้วน พระอุระนูน ชายจีวรเหนือพระอังสาซ้ายสั้น ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร แลเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฐานมีกลีบบัวคว่ำ บัวหงายมีเกสรบัวประกอบ บนฐานหกเหลี่ยมอันเป็นรูปแบบของพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่งยุคต้นโดยแท้
พระพุทธสิงหอินทราชาบดี สิงห์หนึ่ง ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว ภายในบรรจุแผ่นยันต์มหามงคลจักรวาล มหายันต์แห่งโชคลาภ ผ่านพิธีสวดนพเคราะห์ หนุนดวงชะตา เสริมบารมี อุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง ร่ำรวย รุ่งเรืองทั้งอำนาจ วาสนา บารมี เหมาะสำหรับเป็นพระประจำตระกูล เพื่อเป็นมรดกสืบต่อมายังลูกหลานสืบไป
พญาสุบรรณสีทันดร
พญาสุบรรณสีทันดร
“พญาสุบรรณสีทันดร” หรือคนส่วนใหญ่รู้จักกันในนาม “พญาครุฑ” เป็นผลงานอันทรงคุณค่าที่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อความศรัทธาและอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เป็นตัวแทนแห่งคุณงามความดี ความซื่อสัตย์ กตัญญู ทรงพลังอำนาจ และเชื่อกันว่าจะนำพาโชคลาภและทรัพย์สมบัติมาสู่ผู้ที่มีจิตศรัทธาอย่างแท้จริง
ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ อาศัยอยู่ ณ วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งวัชระหรือสายฟ้าของพระอินทร์ จะทำได้ก็เพียงแต่ทำให้ขนปีกของครุฑหลุดร่วงลงเพียงเส้นเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" อันหมายถึง "ผู้มีปีกอันวิเศษงดงามทรงพลัง" ครุฑเป็นสัตว์ใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง บินได้รวดเร็ว มีสติปัญญาแหลมคม อ่อนน้อมถ่อมตน ในมหากาพย์อย่างมหาภารตะนั้นเล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคแต่ต่อมาภายหลังเกิดทะเลาะกันเลยกลายเป็นศัตรูกัน โดยครุฑและนาคนั้น เป็นบุตรของพระกัศยปมุนีเทพบิดร มารดาของครุฑนั้นคือนางวินตา ส่วนมารดาของนาคคือนางกัทรุ ในกาลต่อมา นางกัทรุและนางวินตาได้พนันกันถึงสีของม้าอุไฉศรพ ที่เกิดขึ้นในคราวกวนเกษียรสมุทรซึ่งเป็นสมบัติของพระอินทร์ โดยพนันกันว่าหากใครแพ้ต้องตกเป็นทาสของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเวลาห้าร้อยปี นางวินตาทายว่าม้าสีขาวส่วนนางกัทรุทายว่าม้าสีดำ ความจริงม้านั้นเป็นสีขาวดังที่นางวินตาทาย แต่นางกัทรุใช้อุบายให้ให้นาคพ่นพิษใส่ม้าจนเป็นสีดำ นางวินตาไม่ทราบในกลอุบายเลยต้องยอมแพ้และตกเป็นทาสของนางกัทรุเป็นเวลาถึงห้าร้อยปี ต่อมาภายหลังเมื่อครุฑได้ทราบสาเหตุที่มารดาของตนต้องตกเป็นทาสจึงคิดที่จะหาทางช่วยเหลือมารดา นางกัทรุจึงได้ให้ครุฑไปเอาน้ำอมฤตมาให้แก่พวกนาคเสียก่อนจึงจะให้นางวินตาเป็นไท ครุฑจึงได้บินขึ้นไปยังสวรรค์เพื่อเอาน้ำอมฤตจึงเกิดการต่อสู้กันระหว่างพระอินทร์และบรรดาทวยเทพเทวดาที่ติดตามมาฝ่ายเทวดานั้นไม่สามารถเอาชนะได้ พระอินทร์จึงได้ใช้วัชระซึ่งเป็นอาวุธที่พระอิศวรประทานให้โจมตีครุฑแต่ก็ไม่สามารถทำอะไรครุฑได้แม้แต่น้อย ฝ่ายครุฑได้สลัดขนของตนให้หล่นลงเพียงเส้นหนึ่งเพื่อแสดงความเคารพต่อวัชระและรักษาเกียรติของพระอินทร์ผู้เป็นหัวหน้าของเหล่าเทพ เมื่อพระนารายณ์ทรงทราบเหตุก็ได้ออกมาขวางครุฑไว้และได้สู้รบกันต่างฝ่ายต่างไม่อาจเอาชนะกันได้ ทั้งสองจึงทำข้อตกลงยุติศึกต่อกัน โดยพระนารายณ์ได้มอบน้ำอมฤตให้ด้วยเหตุที่ครุฑมีความกตัญญูต่อมารดาและประทานพรแก่ครุฑให้เป็นอมตะและยังให้ครุฑอยู่สูงกว่าเมื่อพระองค์ทรงประทับบัลลังก์ ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าจะขอเป็นพาหนะแห่งพระนารายณ์ตลอดไป
สีทันดร หรือมหานทีสีทันดร ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วง หมายถึง ห้วงน้ำอันกว้างใหญ่ไพศาล 7 สาย 7 ชนิด มี น้ำนม น้ำนมส้ม น้ำเนย น้ำอ้อย น้ำเหล้า น้ำจืด และน้ำเค็ม ไหลผ่านคั่นระหว่างเทือกเขาทั้ง 7 ที่เรียกว่า สัตบริภัณฑ์ ซึ่งรายล้อมรอบเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล เป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ความกว้างใหญ่ของมหานทีสีทันดรนี้ มีแต่พญาสุบรรณที่มีพละกำลังมหาศาลเท่านั้นจึงสามารถบินข้ามมหานทีสีทันดรไปได้ ด้วยความกว้างใหญ่ไพศาลอีกทั้งยังมีเทือกเขาคั่นของมหานทีสีทันดรนี้เอง จึงเปรียบดั่งเช่นอุปสรรคและปัญหาในชีวิตของคนเรา ที่บางครั้งต้องใช้ความพยายามและความอดทนอย่างมาก เพื่อนำพาตัวเองข้ามผ่านอุปสรรคทั้งหลายที่เข้ามาสู่ชีวิตครั้งแล้วครั้งเล่า ดังเช่นมหานทีทั้ง 7 สาย จึงผ่านพ้นไปได้ ดังนั้นกำลังใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันให้ตัวเองก้าวข้ามผ่านอุปสรรคทั้งหลายได้ในที่สุด เพื่อให้ได้รับความสำเร็จสมดังปรารถนาในสิ่งที่รอคอยอยู่เบื้องหน้า
พญาสุบรรณสีทันดร จากตำนานความเชื่อสู่งานจิตรกรรมและประติมากรรมอันทรงคุณค่าแห่งพญาครุฑผู้ทรงพลังอำนาจ หนุนดวงชะตา เสริมบารมี กลับร้ายกลายเป็นดี นำพาผู้ศรัทธาสู่ความมั่งคั่ง รุ่งเรือง พญาสุบรรณสีทันดรเป็นผลงานประติมากรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านพญาครุฑในลักษณะกึ่งคนกึ่งเทพคือมีลำตัวเป็นคนมีหัวและขาเป็นนกตามแบบสากลนิยม ลักษณะกางปีกเหินเวหาทรงพลังอำนาจข้ามมหานทีสีทันดรที่พำนักอาศัยแห่งปลาอานนท์ผู้หนุนโลกขณะพลิกตัวสะบัดหางในมหานทีสีทันดร เกิดเป็นฟองน้ำเดือดพล่านผ่านกรงเล็บแห่งพญาสุบรรณสีทันดร
โดยผลงานดังกล่าวสืบเนื่องจากแนวคิดจาก อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนินงานแห่ง Artmulet และ ดร.ทรงพล เขมะบูลกุล ที่ปรึกษาโครงการ ผ่านจิตรกรเอกอย่าง อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว และประติมากรดังอย่าง อ.กฤษณะ นาพูลผล โดยศิลปินทั้งสองท่านสามารถรังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ได้อย่างงดงามน่าอัศจรรย์ด้วยเส้นสายลีลาที่พริ้วไหวต่อเนื่องทรงพลังและลงตัวอย่างที่สุดเหมาะสำหรับมีไว้เป็นมรดกอันล้ำค่าสืบทอดไปยังลูกหลานในภายหน้าและเป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
มหาเทพพรหมลิขิต
มหาเทพพรหมลิขิต
การกำเนิดพระพรหมในทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวไว้ว่า เมื่อพระสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เทพยดา พระราชา พราหมณ์ปุโรหิต พระโยคี พระฤาษี ชีพราหมณ์ พระภิกษุสามเณรผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความเพียรและศรัทธาปรารถนาการหลุดพ้นจากกิเลส จึงตั้งใจบำเพ็ญเพียรวิปัสสนากรรมฐานอย่างสม่ำเสมอ จนสำเร็จฌานตามลำดับจนบรรลุแล้ว เมื่อสิ้นอายุขัยจะไปเกิดยังเทวโลกและพรหมโลก ครั้นเมื่อไปเกิดยังพรหมโลกแล้วจะพบแต่ความสุขสงบตราบสิ้นอายุขัยของพระพรหม
ในทางพราหมณ์ฮินดูนั้นเชื่อกันว่า ท้าวมหาพรหม คือผู้สร้าง ผู้รักษา ผู้ทำลาย มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และมีอานุภาพมากมายนานับประการ การสร้างเทวรูปของท้าวมหาพรหมณ์ มักนิยมสร้างสี่หน้าแปดกร ทรงถือของที่ต่างกัน คนไทยที่มีความศรัทธาจะเชื่อว่าท้าวมหาพรหมเป็นผู้กำหนดชีวิตมนุษย์ให้เป็นไปต่างๆ นานา เรียกกันว่า “พรหมลิขิต” สามารถกำหนดหรือบันดาลความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ได้
จากความเชื่อความศรัทธาสู่งานประติมากรรมล้ำค่า “มหาพรหมเทพลิขิต” อันเป็นงานประติมากรรมศิลปะไทยร่วมสมัย มีลักษณะย่างก้าวสู่แผ่นดินใหม่ยุคศิวิไลซ์ พระพักตร์ทั้งสี่ดูเข้มขลัง แต่ทรงไว้ซึ่งความเมตตา ด้านหลังมีประภามณฑล พระกรทั้งแปด ทรงถือของอันมีความหมายทั้งหลายดังนี้
- ทรงจักร หมายถึง การตัดกิเลสตัณหาให้พ้นจากความเสื่อมทั้งหลาย
- ทรงสังข์ หมายถึง ความมีชื่อเสียงที่ดีงามกังวาลไปทั้ง 4 ทิศ
- ทรงคทา หมายถึง ความตั้งมั่นอยู่บนคุณธรรมความดี
- ทรงคันฉ่อง หมายถึง การนำพาความเจริญรุ่งเรืองทั้งหลายมาสู่ตน
- ทรงสร้อยประคำ หมายถึง การใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา
- ทรงคัมภีร์ หมายถึง การค้นหาองค์ความรู้ใหม่อันเป็นต้นกำเนิดแห่งปัญญา
- ทรงตรีศูล หมายถึง การลิขิตและดลบันดาลให้สมปรารถนา
- พระกรขวาทรงผายออก หมายถึง ทรงประทานพรให้ประสบแต่ความสำเร็จ
ประทับบนฐานทรงกลม 3 ชั้น ฐานชั้นบนประดับลวดลายบัวคว่ำบัวหงายอยู่รายรอบ ฐานชั้นที่สองประกอบด้วยลายดอกรักร้อยอยู่รายรอบฐาน มีกนกสามด้าน ด้านหน้าปรากฎสัญลักษณ์รูปหงส์พาหนะแห่งมหาพรหมเทพลิขิต ฐานชั้นล่างรายรอบด้วยลายประจำยามทั้งสี่ทิศ มหาพรหมเทพลิขิตองค์นี้เป็นงานประติมากรรมที่ดูแล้วงดงามอลังการเป็นอย่างมากดุจองค์มหาพรหมเทพจำแลงแปลงมา
โดยผลงานดังกล่าวนี้สืบเนื่องจากแนวคิดของ อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนินงานและ ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล ที่ปรึกษาโครงการแห่ง Artmulet ผ่านจิตรกรเอก อ.เกรียงกมล นาคบางแก้วและประติมากรมากความสามารถอย่าง อ.สุชาติ แซ่จิว โดยศิลปินทั้งสองท่านสามารถรังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งประณีต วิจิตร บรรจง งดงามอลังการโดดเด่นไม่เป็นสองรองใคร ด้วยลีลาเส้นสายที่พลิ้วไหวต่อเนื่องลงตัวเป็นที่สุดเหมาะสำหรับมีไว้เป็นมรดกอันล้ำค่าสืบต่อไปยังลูกหลานและเพื่อฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
รูปหล่อพระอินทร์ประทานพร
รูปหล่อพระอินทร์ประทานพร
พระอินทร์ประทานพร ประทานความสุข ความสำเร็จ มั่งคั่ง มั่นคง ร่ำรวย สมปรารถนา
พระอินทร์ประทานพร เป็นตัวแทนเจ้าผู้ปกครองผู้ทรงฤทธิ์ธำรงไว้ด้วยคุณธรรมเปี่ยมด้วยพระเมตตา ผู้สร้างคุณงามความดีและความรุ่งเรืองทั้งหลาย และเป็นเทพผู้ประทานพรแก่ผู้ทำความดีที่มีจิตศรัทธาอย่างมั่นคง ในคัมภีร์ฤคเวทได้กล่าวถึงพระอินทร์ไว้ว่าเป็นผู้บังคับบัญชาอาชาชาติ ราชรถ ชนคาม และปศุสัตวานุสัตว์ ผู้กระทำให้มีซึ่งตะวันและกาลอรุณรุ่ง ผู้กระทำให้สายน้ำขับเคลื่อน พระอินทร์ผู้ปลดเปลื้องโศกาดูรแห่งอนาถาชน ผู้ปลดเปลื้องรัตติกาลด้วยอรุโณทัย ผู้กระทำให้ความไม่สมบูรณ์เป็นความสมบูรณ์ พระอินทร์เป็นประมุขแห่งทวยเทพ มีอุปนิสัยชอบช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลาย
พระอินทร์ มีไพชยนต์ปราสาทเป็นที่ประทับมีอาวุธประจำกายที่ทรงพลานุภาพเป็นที่สุดคือวชิราวุธหรือวัชระ (สายฟ้า) ช้างทรงของพระอินทร์ชื่อ “ช้างเอราวัณ” ส่วนพระอาสน์ (ที่นั่ง) ของพระอินทร์นั้น มีความสำคัญมาก เมื่อใดที่เกิดร้อนขึ้นมาแสดงว่ากำลังมีผู้ขอพร เมื่อนั้นพระองค์จะลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อมาขจัดทุกข์ภัยให้หมดสิ้นไป ด้วยเมตตาบารมีที่สูงส่ง คอยปกป้องคุ้มครองผู้กระทำความดีอยู่เสมอไป
พระอินทร์ประทานพร ประทับบนบัลลังก์ทิพย์อาสน์เหนือช้างทรงเอราวัณและดอกปาริชาติในดาวดึงส์สวรรค์ ยกพระหัตถ์ขวาประทานพร ภายในอุ้งพระหัตถ์มีตาพระอินทร์ คอยสอดส่องล่วงรู้เหตุทั้งปวงประดุจดังท้าวพันตา พระหัตถ์ซ้ายถือวัชระเป็นอาวุธ อันทรงพลานุภาพเหนือกว่าอาวุธใดๆ มีไว้สำหรับฟาดฟันปัญหาและอุปสรรคทั้งปวงให้หมดสิ้นไป
สำหรับผู้ที่มีความสนใจและต้องการเก็บสะสมผลงานสุดยอดประติมากรรม พระอินทร์ประทานพร ที่มีความงดงามอลังการ ในครั้งนี้จึงถือเป็นโอกาสดีที่สุด
โดยผลงานดังกล่าวนี้สืบเนื่องจากแนวคิดจากผู้เชี่ยวชาญการสื่อสารงานพุทธเทพยศิลป์อย่าง อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนินงานและ ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล ที่ปรึกษาโครงการแห่ง Artmulet ผ่านจิตรกรเอก อ.เกรียงกมล นาคบางแก้วและประติมากรมากความสามารถ อ.สุชาติ แซ่จิว โดยศิลปินทั้งสองท่านสามารถรังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ด้วยลีลาเส้นสายที่พลิ้วไหวต่อเนื่องลงตัวเป็นที่สุดเหมาะสำหรับมีไว้เป็นมรดกอันล้ำค่าสืบต่อไปยังลูกหลานและเพื่อฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
รูปหล่อนารายณ์แปลงรูป
รูปหล่อนารายณ์แปลงรูป
นารายณ์แปลงรูป
กลับร้าย กลายเป็นดี ขึ้นสู่อำนาจ วาสนา บารมี
พระนารายณ์นั้นถือเป็นองค์เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไวษณพนิกายถือเป็นผู้ที่มีฤทธิ์เดชมีอำนาจมีความเก่งกล้าสามารถเป็นอย่างมากและเป็นมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่เหนือกว่าเทพองค์ใดในจักรวาล สามารถอวตารหรือแปลงร่างเป็นอะไรก็ได้ตามวาระที่ต้องการ เพื่อดับความทุกข์ทั้งปวง ประทานความสุขสมปรารถนา ทั้งโชคลาภ อำนาจ วาสนา บารมี และทรัพย์สินเงินทอง หากผู้ร้องขอพรจากองค์พระนารายณ์เป็นผู้ประพฤติดีอยู่ในศีลธรรม ส่วนเรื่องของวิชานารายณ์แปลงรูปนั้นก็เป็นวิชาที่สำคัญจากประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ที่เขียนขึ้นโดยมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพย์โกษา (สอน โลหะนันท์) และท่านพระครูปลัดมหาเถรานุวัตร (มหาแพ) ได้จัดพิมพ์เป็นธรรมทานในคราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี มีอยู่ตอนหนึ่งที่ได้กล่าวถึงวิชาที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้ทรงใช้ขณะที่ท่านได้หลีกเลี่ยงจากการเข้ารับการแต่งตั้งสมณะศักดิ์เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งวิชาที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้นำมาใช้นั้น สามารถเปลี่ยนใบหน้าของท่านทำให้คนที่รู้จักกลับจำท่านไม่ได้และกลับเรื่องร้ายแรงของชีวิตให้กลายเป็นเรื่องดีงามเหมือนอย่างเช่น กลับตาลปัตร โดยเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เสด็จสวรรคตลง ซึ่งขณะนั้นพระมหาโตมีอายุได้ ๖๔ ปี พวกข้าราชการได้ทูลอัญเชิญทูลกระหม่อมพระราชาคณะวัดบวรนิเวศน์วรวิหาร (รัชกาลที่ ๔) ให้เสด็จนิวัติออกเถลิงราชย์ฯ พระมหาโตเลยออกธุดงค์หนีหายจากวัดไปนานหลายเดือน และการหายไปของพระมหาโตครั้งนั้น ทำให้รัชกาลที่ ๔ ทรงกริ้วมาก ถึงกลับมีรับสั่งว่า “ท่านเหาะก็ไม่ได้ ดำดินก็ไม่ได้ แหกกำแพงจักรวาลหนีก็ยังไปไม่ได้” พระองค์จึงทรงรับสั่งให้พระญาณโพธิฯ ออกติดตาม แต่ก็ไม่พบ จึงทรงมีรับสั่งว่า “ฉันจะตามหาเอง” ครั้นถึงเดือนเจ็ดปีนั้น มีกระแสรับสั่งถึงเจ้าเมืองทั่วราชอาณาจักร ให้จับพระมหาโตส่งมายังเมืองหลวงให้ได้ แต่ถึงแม้จะมีท้องตรารับสั่งเร่งรัดอย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถพบพระมหาโตได้ เนื่องจาก “พระมหาโตลองใช้วิชาเปลี่ยนหน้า ทำให้คนรู้จัก กลับจำไม่ได้ เห็นเป็นพระองค์อื่น ปล่อยท่านไปก็มี”
จากตำนานเรื่องราวแห่งความเชื่อความศรัทธาขององค์พระนารายณ์ผู้เป็นใหญ่ด้วยฤทธิ์เดชและอำนาจเหนือกว่าผู้ใดในสามโลกสู่ผลงานประติมากรรมอันทรงคุณค่าที่มีศิลปะอันงดงามสุดอลังการ ด้วยพระนามอันยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ “นารายณ์แปลงรูป” ด้วยการรังสรรค์ผลงานด้านจิตรกรรมและประติมากรรม ที่ถ่ายทอดเรื่องราวแห่งองค์นารายณ์มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ในจักรวาลด้วยรูปแบบศิลปะไทยลักษณะทรงเครื่องเต็มยศมีพระพักตร์ที่สงบนิ่งแต่แฝงไปด้วยพลังแห่งฤทธิ์เดชและอำนาจแต่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา พระหัตถ์ซ้ายบนทรงสังข์สัญลักษณ์ของการมีชื่อเสียงคุณธรรมความดีปรากฏไปทั้งสามโลก พระหัตถ์ขวาบนทรงจักรสัญลักษณ์แห่งการเคลื่อนไปข้างหน้าขจัดปัญหาอุปสรรคทั้งปวง พระหัตถ์ขวาล่างทรงตรีสัญลักษณ์แห่งการปราบปรามสิ่งชั่วร้ายทั้งสามโลก พระหัตถ์ขวาล่างทรงศรนารายณ์สัญลักษณ์แห่งการพุ่งตรงไปยังเป้าหมายสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ขาขวาประทับยืนย่อบนฐานทรงกลมบัวหงายยกขาขวาพร้อมก้าวสู่เป้าหมายข้างหน้า ฐานชั้นล่างเป็นลายน้ำสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ “นารายณ์แปลงรูป” ดังนั้น ผลงานประติมากรรมแห่งศรัทธาครั้งนี้ จึงเป็นผลงานอันเกิดขึ้นจากการประยุกต์เรื่องราวแห่งศรัทธาอันจะนำมาเป็นเครื่องเจริญสติแก่ผู้ที่ได้มีไว้ในครอบครองและเพื่อเป็นสมบัติของวงศ์ตระกูลสืบต่อไป โดยผลงานดังกล่าวนี้เป็นเรื่องราวอันมีความต่อเนื่องจากผลงาน “นารายณ์แปลงรูป” มหาเทพองค์สูงสุดตามลัทธิไวษณพนิกายที่ทาง ARTMULET นั้นได้เคยจัดสร้างไว้แล้ว จากแนวคิดของ อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนิน งานแห่ง ARTMULET และ ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล ที่ปรึกษาโครงการ ผ่านจิตรกรเอก อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว และประติมากร อ.สุชาติ แซ่จิว สองศิลปินผู้รังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ได้อย่างงดงามสุดอลังการน่าอัศจรรย์ทั้งรายละเอียดที่ดูอ่อนช้อยงดงามพริ้วไหวแต่ทรงพลังอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่เกินคำบรรยาย ทั้งหมดนี้เพื่อมอบไว้แด่ผู้ที่มีจิตศรัทธาและมอบไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
พญาสุบรรณสีทันดร ขนาดสูง 3 นิ้ว
พญาสุบรรณสีทันดร ขนาดสูง 3 นิ้ว
พญาสุบรรณสีทันดร สมบูรณ์ด้วยทรัพย์ อำนาจ เงินตรา เสริมวาสนาบารมี กลับร้าย กลายเป็นดี
ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ อาศัยอยู่ ณ วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งวัชระหรือสายฟ้าของพระอินทร์ จะทำได้ก็เพียงแต่ทำให้ขนปีกของครุฑหลุดร่วงลงเพียงเส้นเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" อันหมายถึง "ผู้มีปีกอันวิเศษงดงามทรงพลัง" ครุฑเป็นสัตว์ใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง บินได้รวดเร็ว มีสติปัญญาแหลมคม อ่อนน้อมถ่อมตน ในมหากาพย์อย่างมหาภารตะนั้นเล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคแต่ต่อมาภายหลังเกิดทะเลาะกันเลยกลายเป็นศัตรูกัน โดยครุฑและนาคนั้น เป็นบุตรของพระกัศยปมุนีเทพบิดร มารดาของครุฑนั้นคือนางวินตา ส่วนมารดาของนาคคือนางกัทรุ ในกาลต่อมา นางกัทรุและนางวินตาได้พนันกันถึงสีของม้าอุไฉศรพ ที่เกิดขึ้นในคราวกวนเกษียรสมุทรซึ่งเป็นสมบัติของ พระอินทร์ โดยพนันกันว่าหากใครแพ้ต้องตกเป็นทาสของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเวลาห้าร้อยปี นางวินตาทายว่าม้าสีขาวส่วนนางกัทรุทายว่าม้าสีดำ ความจริงม้านั้นเป็นสีขาวดังที่นางวินตาทาย แต่นางกัทรุใช้อุบายให้ให้นาคพ่นพิษใส่ม้าจนเป็นสีดำ นางวินตาไม่ทราบในกลอุบายเลยต้องยอมแพ้และตกเป็นทาสของนางกัทรุเป็นเวลาถึงห้าร้อยปี ต่อมาภายหลังเมื่อครุฑได้ทราบสาเหตุที่มารดาของตนต้องตกเป็นทาสจึงคิดที่จะหาทางช่วยเหลือมารดา นางกัทรุจึงได้ให้ครุฑไปเอาน้ำอมฤตมาให้แก่พวกนาคเสียก่อนจึงจะให้นางวินตาเป็นไท ครุฑจึงได้บินขึ้นไปยังสวรรค์เพื่อเอาน้ำอมฤตจึงเกิดการต่อสู้กันระหว่างพระอินทร์และบรรดาทวยเทพเทวดาที่ติดตามมาฝ่ายเทวดานั้นไม่สามารถเอาชนะได้ พระอินทร์จึงได้ใช้วัชระซึ่งเป็นอาวุธที่พระอิศวรประทานให้โจมตีครุฑแต่ก็ไม่สามารถทำอะไรครุฑได้แม้แต่น้อย ฝ่ายครุฑได้สลัดขนของตนให้หล่นลงเพียงเส้นหนึ่งเพื่อแสดงความเคารพต่อวัชระและรักษาเกียรติของพระอินทร์ผู้เป็นหัวหน้าของเหล่าเทพ เมื่อพระนารายณ์ทรงทราบเหตุก็ได้ออกมาขวางครุฑไว้และได้สู้รบกันต่างฝ่ายต่างไม่อาจเอาชนะกันได้ ทั้งสองจึงทำข้อตกลงยุติศึกต่อกัน โดยพระนารายณ์ได้มอบน้ำอมฤตให้ด้วยเหตุที่ครุฑมีความกตัญญูต่อมารดาและประทานพรแก่ครุฑให้เป็นอมตะและยังให้ครุฑอยู่สูงกว่าเมื่อพระองค์ทรงประทับบัลลังก์ ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าจะขอเป็นพาหนะแห่งพระนารายณ์ตลอดไป
สีทันดร หรือมหานทีสีทันดร ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วง หมายถึง ห้วงน้ำอันกว้างใหญ่ไพศาล 7 สาย 7 ชนิด มีน้ำนม น้ำนมส้ม น้ำเนย น้ำอ้อย น้ำเหล้า น้ำจืด และน้ำเค็ม ไหลผ่านคั่นระหว่างเทือกเขาทั้ง 7 ที่เรียกว่า สัตบริภัณฑ์ ซึ่งรายล้อมรอบเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล เป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ความกว้างใหญ่ของมหานทีสีทันดรนี้ มีแต่พญาสุบรรณที่มีพละกำลังมหาศาลเท่านั้นจึงสามารถบินข้ามมหานทีสีทันดรไปได้ ด้วยความกว้างใหญ่ไพศาลอีกทั้งยังมีเทือกเขาคั่นของมหานทีสีทันดรนี้เอง จึงเปรียบดั่งเช่นอุปสรรคและปัญหาในชีวิตของคนเรา ที่บางครั้งต้องใช้ความพยายามและความอดทนอย่างมากเพื่อนำพาตัวเองข้ามผ่านอุปสรรคทั้งหลายที่เข้ามาสู่ชีวิตครั้งแล้วครั้งเล่า ดังเช่นมหานทีทั้ง 7 สาย จึงผ่านพ้นไปได้ ดังนั้นกำลังใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันให้ตัวเองก้าวข้ามผ่านอุปสรรคทั้งหลายได้ในที่สุด เพื่อให้ได้รับความสำเร็จสมดังปรารถนาในสิ่งที่รอคอยอยู่เบื้องหน้า
พญาสุบรรณสีทันดร จากตำนานความเชื่อสู่งานจิตรกรรมและประติมากรรมอันทรงคุณค่าแห่งพญาครุฑผู้ทรงพลังอำนาจ หนุนดวงชะตา เสริมบารมี กลับร้ายกลายเป็นดี นำพาผู้ศรัทธาสู่ความมั่งคั่ง รุ่งเรือง พญาสุบรรณสีทันดรเป็นผลงานประติมากรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านพญาครุฑในลักษณะกึ่งคนกึ่งเทพคือมีลำตัวเป็นคนมีหัวและขาเป็นนกตามแบบสากลนิยม ลักษณะกางปีกเหินเวหาทรงพลังอำนาจข้ามมหานทีสีทันดรที่พำนักอาศัยแห่งปลาอานนท์ผู้หนุนโลกขณะพลิกตัวสะบัดหางในมหานทีสีทันดร เกิดเป็นฟองน้ำเดือดพล่านผ่านกรงเล็บแห่งพญาสุบรรณสีทันดร
โดยผลงานดังกล่าวสืบเนื่องจากแนวคิดจาก อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนินงานแห่ง Artmulet และ ดร.ทรงพล เขมะบูลกุล ที่ปรึกษาโครงการ ผ่านจิตรกรเอกอย่าง อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว และประติมากรดังอย่าง อ.กฤษณะ นาพูลผล โดยศิลปินทั้งสองท่านสามารถรังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ได้อย่างงดงามน่าอัศจรรย์ด้วยเส้นสายลีลาที่พริ้วไหวต่อเนื่องทรงพลังและลงตัวอย่างที่สุดเหมาะสำหรับมีไว้เป็นมรดกอันล้ำค่าสืบทอดไปยังลูกหลานในภายหน้าและเป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป