พระพุทธสิงหอินทราชาบดี สิงห์หนึ่ง
พระพุทธสิงหอินทราชาบดี
สิงห์หนึ่ง วัดขุนอินทประมูล
พระประจำตระกูล
ภายในบรรจุแผ่นยันต์มหามงคลจักรวาล
มหายันต์แห่งโชคลาภ หนุนชะตา เสริมบารมี
ประติมากร อ.สุชาติ แซ่จิว
เลือกหมายเลขประจำองค์พระได้
หากจะกล่าวถึงบรรดาศิลปะแห่งพระพุทธรูปในแต่ละยุคสมัยนั้น เริ่มจากพระพุทธรูปศิลปะล้านนา สุโขทัย อยุธยา จนมาถึงพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์นั้น พระพุทธรูปหนึ่งในสุดยอดปรารถนาของบรรดานักสะสมพระพุทธรูปพระบูชาแล้ว อันดับหนึ่ง ต้องยกให้กับพระพุทธรูปเชียงแสน สิงห์หนึ่ง ศิลปะล้านนา โดยเฉพาะหากเป็นพระเก่าอายุถึงยุคสมัยแล้ว ราคาเช่าบูชาต้องว่ากันนับหลายล้านบาททีเดียว ดังนั้น พระเชียงแสนสิงห์หนึ่งจึงมักตกอยู่ในครอบครองของบรรดานักสะสมผู้มากด้วยบารมีและฐานะทางสังคมโดยส่วนใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์งดงาม พระอุระอวบอิ่มสมบูรณ์ ดุจดังพญาราชสีห์ สื่อความหมายถึงความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ทั้งอำนาจ วาสนา บารมี และยังเป็นตัวแทนแห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในยุคสมัยนั้นด้วย
พระพุทธสิงหอินทราชาบดี สิงห์หนึ่ง วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง มีที่มาจากเรื่องราวในครั้งอดีตสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งขุนอินทประมูลคหบดี เป็นนายอากรเก็บภาษี ผู้บูรณะพระนอนองค์ใหญ่ที่สร้างมาแต่ครั้งสมัยพระยาเลอไทแห่งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในครั้งนั้นขุนอินทประมูลได้ถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินภาษีอากรของทางราชการ มาบูรณะพระนอน แต่ขุนอินทประมูลยืนยันว่าเงินที่นำมาบูรณะพระนอนนั้นเป็นเงินที่ตนได้เก็บสะสมมาตั้งแต่ครั้งเริ่มรับราชการหาใช่เงินที่ยักยอกมาดังที่ถูกกล่าวหา แต่ทางการกับคาดคั้นด้วยการโบยตี โดยหวังให้ขุนอินทประมูลยอมจำนนรับสารภาพ แต่ขุนอินทประมูล ผู้มีหัวใจสิงห์ ยอมตายไม่ยอมให้พระพุทธศาสนาต้องมามัวหมองเพราะคำกล่าวหานั้น ครั้นเมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงทราบถึงความเด็ดเดี่ยวในศรัทธาอันแรงกล้าของขุนอินทประมูลที่มีต่อพระพุทธศาสนา จึงได้ทรงพระราชทานทองคำประดับพระเกศมาลาองค์พระพุทธไสยาสน์ และทรงพระราชทานพระนามใหม่เป็น "พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล" ต่อมาในยุคแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ในหลวงรัชกาลที่ 5 มาถึง ในหลวงรัชกาลที่ 9 ยังได้ทรงเสด็จฯ มาสักการะ พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูลองค์นี้อยู่เรื่อยมา ดั้งนั้นเพื่อเป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาและเป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติ ตลอดจนเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของขุนอินทประมูล คหบดีผู้มีหัวใจสิงห์ จึงนำมาสู่แนวคิดในการจัดสร้างพระพุทธรูปขนาดบูชาในแบบสิงห์หนึ่ง เปรียบดังหัวใจสิงห์ของขุนอินทประมูล โดยพระพุทธรูปที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ จะต้องมีความสง่างาม สมบูรณ์ ทรงคุณค่า และสืบสานงานพุทธศิลป์ตามแบบยุคสมัยเดิมในแบบพระเชียงแสนสิงห์หนึ่งแท้ๆ ถูกต้องตามพุทธลักษณะ ที่มีความประณีต วิจิตร บรรจงในทุกขั้นตอนของการจัดสร้าง เพื่อมอบไว้เป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดินและมอบให้ผู้มีจิตศรัทธาในโครงการจัดสร้างสถานปฏิบัติธรรมและเสนาสนะภายในวัดขุนอินทรประมูล จ.อ่างทอง ทางคณะกรรมการโครงการ โดย อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ผู้เชี่ยวชาญการสื่อสารด้านงานพุทธศิลป์ จึงมอบหมายให้ อ.สุชาติ แซ่จิว ประติมากร ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในงานปั้นพระพุทธรูปแบบคลาสสิกที่กำลังโด่งดังอยู่ ณ เวลานี้ เป็นผู้รังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ให้มีความงดงามวิจิตรบรรจง ในรูปแบบของพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ยุคต้น ขึ้นมาใหม่ในลักษณะประติมากรรมลอยตัว มีพุทธศิลป์คล้ายกับพระพุทธรูปแบบปาละของอินเดีย คือมีพุทธลักษณะพระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระหนุเป็นปม พระวรกายอวบอ้วน พระอุระนูน ชายจีวรเหนือพระอังสาซ้ายสั้น ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร แลเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฐานมีกลีบบัวคว่ำ บัวหงายมีเกสรบัวประกอบ บนฐานหกเหลี่ยมอันเป็นรูปแบบของพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่งยุคต้นโดยแท้
พระพุทธสิงหอินทราชาบดี สิงห์หนึ่ง ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว ภายในบรรจุแผ่นยันต์มหามงคลจักรวาล มหายันต์แห่งโชคลาภ ผ่านพิธีสวดนพเคราะห์ หนุนดวงชะตา เสริมบารมี อุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง ร่ำรวย รุ่งเรืองทั้งอำนาจ วาสนา บารมี เหมาะสำหรับเป็นพระประจำตระกูล เพื่อเป็นมรดกสืบต่อมายังลูกหลานสืบไป